HEMP ประเดิมเฟสแรกเปิดร้านยาเฟรนไชส์ 5 สาขาก่อนเดินเครื่องเฟส 2 ใน มิ.ย.นี้

ทันตแพทย์วนัสพนธ์ เปล่งสุรีย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเฮทล์อัพ กรุ๊ป จำกัด (Health Up) บริษัทในกลุ่ม บมจ.เฮลท์ เอ็มไพร์ คอร์ปอเรชั่น (HEMP) เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงนามแต่งตั้งบริษัท Business Coach & Consulting เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจและแฟรนไชส์ เพื่อนำแฟรนไชส์เฮลท์อัพขยายธุรกิจในตลาด Healthcare segment ที่มีการเติบโตสูงในขณะนี้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้มีการลงนามเซ็นสัญญาแฟรนไชส์ เฟส 1 ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Health Up Partnership โดย franchisee เป็น เภสัชกรเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่ในสาขาเฮลท์ อัพ ซึ่งเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ในห้าง moderntrde จำนวน 5 สาขา ประกอบด้วย สาขาโลตัสอุดรธานี, สาขา Maxvalu ราชพฤกษ์.สาขา UD TOWN อุดรธานี.สาขา อัศวรรณ หนองคาย2 และสาขา เสริมไทยคอมเพล็กซ์ มหาสารคาม และวางแผนไว้ต่อไปจะเสนอ Health Up Partnership ให้แก่เภสัชบุคคลภายนอกในเดือนมิ.ย.นี้

เฮลท์อัพ มีความมุ่งหวังที่จะให้ ระบบแฟรนไชส์เฮลท์อัพ สนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ซีให้มีการเติบโตที่ยั่งยืน ในการทำธุรกิจร้านยา รวมทั้งมีความมั่นใจในประสบการณ์ในธุรกิจ และ แฟรนไชส์ในระดับประเทศของบริษัท Business Coach & Consulting ในการเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจและ แฟรนไชส์กว่า 30 ปี และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการพัฒนามากกว่า 300 ธุรกิจชั้นนำในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ดังนั้นในการขับเคลื่อนเข้าสู่ธุรกิจ แฟรนไชส์ร้านยาครั้งนี้ เฮลท์อัพ จึงมีความความพร้อมในการสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ซีให้เติบโตในการทำธุรกิจร้านยาทั้งภายในประเทศและขยายสู่สากลในอนาคต

“เป็นเวลาร่วม 35 ปี ที่เชนยา เฮลท์อัพได้พัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการร้านยา อย่างเป็นระบบแบบแผนที่ทันสมัยในการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง จากร้านยาเดี่ยว จนเป็นเชนยาเฮลท์อัพซึ่งมีสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศกว่า 80 สาขา จากการเติบโตของธุรกิจและการตอบรับของลูกค้าสมาชิกของสาขาที่ไว้วางใจให้เชนยา เฮลท์อัพได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของสมาชิก ซึ่งมีจำนวน มากกว่า 1 ล้านคนในวันนี้ ทำให้ เชนยา เฮลท์อัพ มีความมั่นใจที่จะต่อยอดพัฒนา การบริหารจัดการธุรกิจร้านยาไปสู่ ธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งจะช่วยให้เภสัชกรที่มีความพร้อมและสนใจเปิดร้านยาในห้างสรรพสินค้า โมเดิร์นเทรด สามารถเข้าสู่ธุรกิจร้านยาได้ด้วยความมั่นใจในการบริหารร้านยา และได้รับการดูแลตั้งแต่จุดเริ่มต้น ในหาทำเลที่มีศักยภาพในห้าง และระบบการสนับสนุนของแฟรนไชส์ทั้งหมด”

ทันตแพทย์วนัสพนธ์ กล่าว

การบริหารจัดการแฟรนไชส์แบบครบวงจร ประกอบด้วย โปรแกรมการขาย ระบบการสนับสนุนทาง IT การขายและการบริการ การตลาด ระบบลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) การฝึกอบรม การวิเคราะห์ธุรกิจ และกิจกรรมต่างๆร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนเช่นเดียวกับสาขาบริษัทแม่ รวมทั้งTelepharmacy ที่จะกำลังจะมีขึ้นซึ่งช่วยให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าสมาชิกของร้านยา และช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันใน ธุรกิจHealthcare ที่มีกระแสร้อนแรงเติบโตสูง

การเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ยาของ Health Up จะแบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟส 1 จะเป็นรูปแบบ Partnership Franchise และ เฟสที่ 2 เป็นรูปแบบ Standard Franchise สำหรับในเฟสแรกที่เป็น partnership franchise นั้นมุ่งสร้าง business model ในช่วงต้นให้ เภสัชกรภายในองค์กรได้เป็นเจ้าของ Franchise ร้านยาในห้างสรรพสินค้า และถัดไปจะเป็นเภสัชกรทั่วไป โดยบริษัทแม่หรือ Franchisor จะช่วยลงทุนค่าสินค้า และค่าตกแต่งร้านให้ โดยค่าตกแต่งจะแบ่งชำระรายเดือนเช่นกัน

Health up Partnership Franchise จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่ช่วยให้เภสัชกรสามารถเป็นเจ้าของ Franchise ร้านยาได้เพียงเตรียมเงินลงทุนหลักเบื้องต้นสำหรับค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Franchise fee) ค่าการตลาด ค่าสิทธิ์แฟรนไชส์ (Royalty fee) ค่า Goodwill สำหรับเฉพาะการซื้อแฟรนไชส์สาขาเก่า และเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 เม.ย. 66)

Tags: , , , ,
Back to Top