ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน 29 จังหวัด ประกอบด้วย ปทุมธานี กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ เลย
– ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 11 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 12 – 138 มคก./ลบ.ม.
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 17 – 63 มคก./ลบ.ม.
– ภาคกลาง และตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 – 95 มคก./ลบ.ม.
– ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 36 – 78 มคก./ลบ.ม.
– ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9 – 21 มคก./ลบ.ม.
– กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 47 – 104 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ในส่วนของกรุงเทพฯ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ในช่วงเวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ระดับ 49-78 มคก./ลบ.ม. หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย PM2.5 ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ 62.6 มคก./ลบ.ม. โดยค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐาน 67 พื้นที่ ซึ่งอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ ประกอบด้วย
1.เขตราชเทวี 2.เขตสัมพันธวงศ์ 3.เขตวังทองหลาง 4.เขตปทุมวัน 5.เขตบางรัก 6.เขตบางคอแหลม 7.เขตยานนาวา 8.เขตจตุจักร 9.เขตบางกะปิ 10.เขตลาดกระบัง 11.เขตธนบุรี 12.เขตคลองสาน 13.เขตบางกอกน้อย 14.เขตภาษีเจริญ 15.เขตบางเขน 16.เขตบางพลัด 17.เขตบางขุนเทียน 18.เขตพระนคร 19.เขตสาทร 20.เขตคลองเตย
21.เขตบางซื่อ 22.เขตหลักสี่ 23.เขตบึงกุ่ม 24.เขตสวนหลวง 25.เขตลาดพร้าว 26.เขตคลองสามวา 27.เขตสายไหม 28.เขตห้วยขวาง 29.เขตสะพานสูง 30.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 31.เขตบางแค 32.เขตจอมทอง 33.เขตดอนเมือง 34.เขตดินแดง 35.เขตพระโขนง 36.เขตราษฎร์บูรณะ 37.เขตบางกอกใหญ่ 38.เขตตลิ่งชัน 39.เขตทวีวัฒนา 40.เขตดุสิต
41.เขตหนองแขม 42.เขตบางบอน 43.เขตทุ่งครุ 44.เขตวัฒนา 45.เขตบางนา 46.เขตคันนายาว 47.เขตมีนบุรี 48.เขตหนองจอก 49.เขตประเวศ 50.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร (เขตจตุจักร) 51.สวนจตุจักร เขตจตุจักร (เขตจตุจักร) 52.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ (เขตประเวศ) 53.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง (เขตลาดกระบัง) 54.อุทยานเบญจสิริ (สวนเบญจสิริ) เขตคลองเตย (เขตคลองเตย) 55.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง (เขตดอนเมือง)
56.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ (เขตทุ่งครุ) 57.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย (เขตคลองเตย) 58.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร (เขตจตุจักร) 59.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม (เขตบึงกุ่ม) 60.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค (เขตบางแค) 61.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา (เขตทวีวัฒนา) 62.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง (เขตลาดกระบัง) 63.สวนหนองจอก เขตหนองจอก (เขตหนองจอก) 64.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน (เขตบางเขน) 65.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม (เขตบางคอแหลม) 66.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี (เขตราชเทวี) 67.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด (เขตบางพลัด)
โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ในช่วงวันที่ 19 – 24 ก.พ. 2566 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน ประกอบกับสภาพอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดการสะสมของ PM2.5 จากนั้นช่วงวันที่ 25-26 ก.พ. 66 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก/ดี โดบบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่ ได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้ และเวียดนามตอนบนแล้วและวันนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอากาศเย็นในตอนเช้า
อย่างไรก็ดี ในระหว่างวันที่ 22-25 ก.พ.66 พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ก.พ. 66)
Tags: PM2.5, ฝุ่นละออง, ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ, สิ่งแวดล้อม