WHO แนะเฝ้าระวังไข้หวัดนก หลังพบระบาดล่าสุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยเมื่อวันพุธ (8 ก.พ.) ว่า การแพร่ระบาดล่าสุดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวัง แต่ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการของ WHO กล่าวว่า โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แพร่ระบาดในสัตว์ปีกที่เป็นปศุสัตว์และสัตว์ปีกในธรรมชาติมาแล้ว 25 ปี แต่การรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการติดเชื้อในมิงก์หรือเพียงพอน นาก และสิงโตทะเลนั้น จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นายแพทย์กีบรีเยซุสกล่าวอีกว่า โอกาสติดเชื้อในมนุษย์นั้นมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ โดยการติดเชื้อในมนุษย์พบได้น้อยมาก นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดเมื่อปี 2539 แต่ไม่สามารถสันนิษฐานไปเองว่าจะเป็นเช่นนั้นต่อไป และจะต้องเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งระบุว่า ประชาชนได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสซากสัตว์ป่าที่ตายหรือสัตว์ป่าที่ป่วย พร้อมแนะนำให้รีบแจ้งหน้าที่ท้องถิ่นหรือหน่วยงานระดับชาติที่กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด และแนะนำให้เพิ่มการเฝ้าระวังมากขึ้นในพื้นที่ที่มนุษย์และสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กัน

“องค์การอนามัยโลกยังได้ร่วมมือกับผู้ผลิตยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่า หากมีกรณีที่จำเป็นเกิดขึ้น จำนวนวัคซีนและยาต้านไวรัสจะเพียงต่อการใช้งานทั่วโลก” นายแพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยเมื่อวันพุธ (8 ก.พ.) ว่า การแพร่ระบาดล่าสุดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวัง แต่ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่มนุษย์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายแพทย์เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการของ WHO กล่าวว่า โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แพร่ระบาดในสัตว์ปีกที่เป็นปศุสัตว์และสัตว์ปีกในธรรมชาติมาแล้ว 25 ปี แต่การรายงานล่าสุดเกี่ยวกับการติดเชื้อในมิงก์หรือเพียงพอน นาก และสิงโตทะเลนั้น จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นายแพทย์เกเบรเยซุสกล่าวอีกว่า โอกาสติดเชื้อในมนุษย์นั้นมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ โดยการติดเชื้อในมนุษย์พบได้น้อยมาก นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดเมื่อปี 2539 แต่ไม่สามารถสันนิษฐานไปเองว่าจะเป็นเช่นนั้นต่อไป และจะต้องเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งระบุว่า ประชาชนได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสซากสัตว์ป่าที่ตายหรือสัตว์ป่าที่ป่วย พร้อมแนะนำให้รีบแจ้งหน้าที่ท้องถิ่นหรือหน่วยงานระดับชาติที่กำลังเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาด และแนะนำให้เพิ่มการเฝ้าระวังมากขึ้นในพื้นที่ที่มนุษย์และสัตว์มีปฏิสัมพันธ์กัน

“องค์การอนามัยโลกยังได้ร่วมมือกับผู้ผลิตยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่า หากมีกรณีที่จำเป็นเกิดขึ้น จำนวนวัคซีนและยาต้านไวรัสจะเพียงต่อการใช้งานทั่วโลก” นายแพทย์เกเบรเยซุสกล่าว

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (09 ก.พ. 66)

Tags: , , , ,
Back to Top