บมจ.จีเอเบิล เปิดตัว U-NEXT แพลตฟอร์มในการบริหารจัดการระบบการศึกษาอย่างครบวงจรที่จะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ รวมไปถึงระบบการบริหารจัดการหลักสูตรที่ยืดหยุ่นสูงรองรับ Lifelong Learning เทรนด์การเรียนรู้ในยุคใหม่ ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาบน Cloud Technology ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง พลิกโฉมระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
นายอุกฤษฏ์ วงศราวิทย์ ประธานบริหารสายงานโซลูชั่นและเทคโนโลยี จีเอเบิล กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาคการศึกษาได้เจอกับความท้าทายหลายด้าน ทั้งการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้จำนวนนักศึกษาใหม่ลดลง รวมถึงผลกระทบของโควิดที่ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป ภาคการศึกษาจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อรองรับการเรียนการสอน ในรูปแบบใหม่ๆ และสามารถให้บริการนักศึกษาได้ยืดหยุ่นและคล่องตัวขึ้น
จีเอเบิล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ และด้วยประสบการณ์ในธุรกิจการศึกษา รวมทั้งความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีมากกว่า 30 ปี จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม U-NEXT ระบบบริหารจัดการการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ทันสมัยอย่างครบวงจร โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง ตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษาใหม่ การลงทะเบียนนักศึกษา การประมวลผลการศึกษา จนกระทั่งการสำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ U-NEXT ยังพัฒนาโดยใช้ Cloud Technology และ Micro Services เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับรองรับการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้อีกด้วย”
นางสาวณัชชา จารุบุณย์ Senior Software Solution Manager จีเอเบิล กล่าวว่า ทีมพัฒนา U-NEXT ตั้งใจให้แพลตฟอร์มนี้เป็นรากฐานให้กับองค์กรลูกค้า เพื่อก้าวสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาดิจิทัลที่แท้จริง เราออกแบบโดยคำนึงถึงการตอบโจทย์ผู้ใช้งานในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้เรียนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการศึกษา และสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา (Self-Directed Learning) กลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่สามารถสร้างหลักสูตรและกระบวนการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว (Configurable & Customizable)
รวมไปถึง หน่วยงานผู้ดูแลระบบที่สามารถวางใจใน Cloud Technology ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นผ่าน API integration ได้อีกด้วย นอกจากนี้ทีมพัฒนายังเล็งเห็นถึงศักยภาพในการต่อยอดฐานข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้สถานศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนาคต (Data Prediction) แล้วนำมาปรับใช้สนับสนุน ให้มหาวิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ในอนาคตอีกด้วย”
Education Journey หรือแผนการบริหารการศึกษาของแพลตฟอร์ม U-NEXT จะมี 4 ระบบ
1. NEWGEN ระบบรับสมัครนักศึกษาใหม่ (Admission System) เช่น การรับสมัครนักศึกษาใหม่และการชำระเงินออนไลน์ การตรวจสอบใบสมัครและออกรหัสนักศึกษา การรายงานตัวและขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ (E-KYC) การทำบัตรนักศึกษา (e-Student Card) และการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาใหม่ (ปี1 เทอม1)
2. NEXTGEN ระบบลงทะเบียนนักศึกษา (Enrollment System) เช่น การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและชำระเงินค่าเทอม การจัดตารางเรียน-ตารางสอบ การลงทะเบียนเรียนและเพิ่ม-ถอนรายวิชา และการจัดการข้อมูลผู้ใช้งานและสิทธิ์
3. MYSCORE ระบบประมวลผลการศึกษา (Evaluate System) เช่น การเทียบโอนรายวิชา-การเรียนข้ามสถาบัน การสะสมหน่วยการเรียนรู้ การประมวลผลการศึกษา/เกรดออนไลน์ ทรานสคริปต์ออนไลน์ และการประเมินอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา
4. PUNDIT ระบบขอจบการศึกษา (Graduate System) เช่น การยื่นขอสำเร็จการศึกษา การยื่นขอจบการศึกษา การรายงานตัวบัณฑิต การตรวจสอบวุฒิการศึกษา รวมถึงการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ มคอ. (1-7)
ในเฟสแรกนี้ทางจีเอเบิลได้เปิดตัว NEWGEN ระบบสมัครนักศึกษาใหม่ (Admission System) เพื่อตอบโจทย์กลุ่มสถาบันการศึกษาที่ต้องการปรับโฉมการใช้งานของผู้เรียนให้เป็นดิจิทัลอย่างเร่งด่วน โดยสามารถเชื่อมต่อส่วน NEWGEN เข้ากับระบบ Core Education ที่มีอยู่ในปัจจุบันของทางสถาบันได้เลย สำหรับ NEXTGEN MYSCORE และ PUNDIT จะทยอยเปิดตัวเป็นลำดับถัดไป
“ในฐานะ Tech Enabler Company จีเอเบิลมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ เราจึงมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าแพลตฟอร์ม U-NEXT ที่จีเอเบิลได้พัฒนาขึ้นนี้ จะช่วยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยพลิกโฉมระบบบริหารการศึกษาเข้าสู่ระบบออนไลน์ที่ได้รับมาตรฐาน เพิ่มความสะดวก ยืดหยุ่น และปลอดภัย เพื่อให้ตอบโจทย์นักศึกษารุ่นใหม่ และมุ่งสู่การเป็น Digital University อย่างเต็มรูปแบบ” นายอุกฤษฏ์ กล่าว
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (02 ก.พ. 66)
Tags: U-NEXT, การศึกษาไทย, จีเอเบิล, อุกฤษฏ์ วงศราวิทย์, เทคโนโลยีดิจิทัล