Power of The Act: การประเมินผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดพลังงานหลังการรวมกิจการโดยดัชนี HHI

ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการรวมกิจการและการถือหุ้นไขว้ในกิจการพลังงาน พ.ศ. 2565 ผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะดำเนินการรวมกิจการกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นมีหน้าที่ต้องทำรายงานผลการวิเคราะห์การรวม กิจการ โดยต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของตลาดที่เกี่ยวข้องภายหลังจากการรวมกิจการ (ข้อ 9 วรรคหนึ่ง (6)) ด้วยเหตุนี้

ผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะดำเนินการรวมกิจการนั้นจะมีวิธีการประเมินผลกระทบ “ภายหลัง” การรรวมกิจการอย่างไร บท ความนี้จะอธิบายถึงแนวทางการประเมินโดยประเมินผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดพลังงานหลังการรวมกิจการโดยดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล- เฮิร์ชแมน Herfindahl-Hirschman Index (HHI)

*การกระจุกตัวของตลาดและผลกระทบต่อการแข่งขัน

แนวทางหนึ่งในการพิจารณาว่าการรวมกิจการนั้นจะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดสินค้าหรือบริการตลาดใดตลาดหนึ่งลดลง (อย่างมีนัยสำคัญ) หรือไม่สามารถอาศัยการประเมินว่าหลังจากการรวมธุรกิจแล้วจะเกิด “ระดับของการกระจุกตัวของตลาดที่เกี่ยวข้อง” และ “การเปลี่ยนแปลงของระดับการกระจุกตัวของตลาด” หรือไม่ เพียงการคำนวณดังกล่าวสามารถอาศัยตัวเลขที่แสดงอัตราส่วนร้อยละ ของส่วนแบ่งตลาดของผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายในตลาดที่เกี่ยวข้องมายกกำลังสองแล้วบวกกันเพื่อหาระดับการกระจุกตัวของตลาดที่เกี่ยว ข้อง ซึ่งเรียกว่า “ดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล-เฮิร์ชแมน Herfindahl-Hirschman Index (HHI)”

การวิเคราะห์ผลกระทบต่อการแข่งขันหลังการรวมกิจการโดยอาศัยดัชนี HHI นั้น เป็นวิธีการประเมินผลกระทบของการรวม กิจการต่อการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ เช่น การพิจารณาว่าคำขอรวมกิจการในประเทศญี่ปุ่นนั้น คณะกรรมการแข่งขันทาง การค้าของประเทศญี่ปุ่น (Japan Fair Trade Commission หรือ JFTC) จะพิจารณาว่า การรวมกิจการตามคำขอนั้นจะทำให้การแข่ง ขันในตลาดสินค้าหรือบริการตลาดใดตลาดหนึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เพื่อตอบคำถาม JFTC จะพิจารณาว่า “ภายหลังจากการรวม กิจการ” แล้ว ดัชนี HHI นั้นจะมีค่าเท่าใด

ทั้งนี้ รายละเอียดปรากฏตาม Guidelines to Application of the Antimonopoly Act Concerning Review of Business Combination (ประกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 และมีการแก้ไขครั้งล่าสุดในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2019) ตาม Guidelines ดังกล่าว หากดัชนี HHI หลังการรวมกิจการสูงไม่ถึง 1,500 (เป็นปัจจัยบ่งชี้ว่าการ รวมไม่ก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ)

ในสหรัฐอเมริกา หากดัชนี HHI ภายหลังการรวมสูงกว่า 1800 จะถือว่าตลาดมีการกระจุกตัวมาก

การรวมกิจการที่เพิ่มดัชนี HHI ไม่เกิน 50 จุด มีแนวโน้มจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบกับการแข่งขัน ในขณะที่การรวม กิจการที่เพิ่มดัชนี HHI เกินกว่า 50 จุด มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดประเด็นด้านการแข่งขัน และหากดัชนี HHI เพิ่มขึ้นเกินกว่า 100 จุด จะ สมมติฐานว่าทำให้ผู้ประกอบการ (ที่อยู่ในตลาดหลังการรวมกิจการ) มีอำนาจเหนือตลาด (เว้นแต่จะแสดงหลักฐานเป็นอื่นได้)

คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย อธิบายว่า “การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดไม่ได้มีความผิด” แต่หากใช้ อำนาจเหนือตลาดในการกระทำพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรม เช่น ตั้งราคาจำกัดคู่แข่ง (Predatory Pricing) ตั้งราคาสินค้าต่ำกว่าทุน (Price Below Cost) หรือ กำหนดราคาให้คู่ค้าแต่ละรายต่างกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรนั้นจะถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย (โปรดดู มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560)

*วิธีการและตัวอย่างการคำนวณ

ระดับการกระจุกตัวของตลาดที่เกี่ยวข้องและการเปลี่ยนแปลงของระดับการกระจุกตัวของตลาดตามดัชนี HHI จะ ถูกแสดงผ่านส่วนต่าง (หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น) ระหว่างส่วนแบ่งตลาดของจำนวนยอดขายในตลาดที่เกี่ยวข้อง ก่อนรวมกิจการและหลังรวมกิจการ โดยอาศัยสมการคือ

HHI = S1 (ยกกำลังสอง) + S2 (ยกกำลังสอง) + S3 (ยกกำลังสอง) + Sn (ยกกำลังสอง) จำนวนเต็ม (ในกรณีมีผู้ประกอบการรายเดียวที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 100) ของดัชนี HHI เท่ากับ 10,000 (1002) ส่วน “Sn” นั้นหมายถึงส่วนแบ่งตลาดที่เหลือทั้งหมด

ยกตัวอย่างเช่น กรณีตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้ามีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 9 ราย รายที่ 1 มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 35 จะมีค่าดัชนี HHI ที่ 1,225 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มาจากการนำ 35 มายกกำลังสอง) รายที่ 2 มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ ร้อยละ 25 จะมีค่าดัชนี HHI ที่ 625 (25 ยกกำลังสอง) รายที่สามมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 10 จะมีค่าดัชนี 100 (10 ยกกำลังสอง) ส่วนที่เหลืออีก 6 รายมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5 (มีค่าดัชนีรายละ 25 จากการนำ 5 มายกกำลังสอง) รวม 6 รายนี้จะมีค่า ดัชนี 150 (6 ราย รายละ 25) เมื่อนำจำนวนเหล่านี้มารวมกันจะได้ค่าดัชนี HHI ได้แก่ 2,100 สามารถแสดงได้ตามตารางที่ 1 ดังนี้

ตารางที่ 1

ผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1รายที่ 2รายที่ 3รายที่ 4-9
ส่วนแบ่งตลาด352510รายละ 5
(ตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้า)รวมเป็น 30
ค่าดัชนี HHI1,2256251002,100
(รายละ 25, 25*6 = 150)

หากเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่าตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้ามีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 10 ราย รายที่ 1 มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 25 รายที่ 2 และ 3 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 ที่เหลืออีก 7 รายมีส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 5 ในกรณีนี้ การกระจุกตัวของตลาดผลิตและค้าส่ง ไฟฟ้าตามดัชนี HHI ได้แก่ 1,600 ซึ่งสามารถแสดงได้ตามตารางที่ 2 ดังนี้

ตารางที่ 2

ผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1รายที่ 2รายที่ 3รายที่ 4-10
ส่วนแบ่งตลาด252020รายละ 5
(ตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้า)รวมเป็น 35
ค่าดัชนี HHI6254004001,600
(รายละ 25, 25*7 = 175)

จากตัวอย่างที่ 2 นี้หากผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1 ซื้อหุ้นทั้งหมดของผู้รับใบอนุญาตรายที่ 2 (ซึ่งเป็นการรวมกิจการ ตามกฎหมาย (รายละเอียดเพิ่มใน Power of the Act EP.20 (การรวมกิจการระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ พลังงาน: นิยาม รูปแบบ และผลกระทบต่อตลาดพลังงาน) ซึ่งมีการเผยแพร่ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566) ย่อมส่งให้ ผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1 มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็นร้อยละ 40 และส่งให้การกระจุกตัวของตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้าตาม ดัชนี HHI ได้แก่ 2,600 ซึ่งสามารถแสดงได้ตามตารางที่ 3 ดังนี้

ตารางที่ 3

ผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1รายที่ 2รายที่ 3รายที่ 4-9
ส่วนแบ่งตลาด252020รายละ 5
(ตลาดผลิตและค้าส่งไฟฟ้า)รวมเป็น 35
ค่าดัชนี HHI454002,600
(รายละ 25 25*7 = 175)
= 2,025

ในกรณีตามตารางที่ 3 การปรับใช้ดัชนี HHI แสดงให้เห็นว่าก่อนการรวมกิจการส่วนแบ่งตลาดของจำนวนยอดขายหากตลาดที่ เกี่ยวข้องก่อนรวมกิจการมี HHI 1,600 แต่หลังรวมกิจการแล้วดัชนี HHI กลายเป็น 2,600 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดการกระจุกตัวของ ตลาดมากขึ้นหลังการรวมกิจการระหว่างผู้รับใบอนุญาต คำถามที่ตามมาก็คือการเปลี่ยนของดัชนีในระดับใดจึงจะ “สื่อ” หรือ “ส่งสัญญาณ” ว่าการรวมกิจการตามความประสงค์ของผู้รับใบอนุญาตนั้นจะส่งผลให้การแข่งขันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

*การแปลผลของการคำนวณ

หากปรับใช้แนวทางของสหรัฐอเมริกา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปนี้ให้ถือว่าการรวมกิจการส่งผลให้เกิดการมีอำนาจเหนือ ตลาดที่เกี่ยวข้อง และ”สื่อ” หรือ “ส่งสัญญาณ” ว่าการรวมกิจการตามความประสงค์ของผู้รับใบอนุญาตนั้นจะส่งผลให้การแข่งขันลดลงอย่าง มีนัยสำคัญ

– กรณีที่ใช้ HHI พิจารณาส่วนแบ่งตลาดของจำนวนยอดขายหากตลาดที่เกี่ยวข้องก่อนรวมกิจการมี HHI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,800 แล้วหลังรวมกิจการ ส่งผลให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมี HHI มากกว่า 1,800 และเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 50 แสดงว่าการ รวมกิจการทำให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมีการกระจุกตัวสูง ให้ถือว่าการรวมกิจการดังกล่าวส่งผลด้านลบต่อการแข่งขันอันถือว่าเป็นการมีอำนาจ เหนือตลาดที่เกี่ยวข้อง

– กรณีที่ใช้ HHI พิจารณาส่วนแบ่งตลาดของจำนวนยอดขาย หากตลาดที่เกี่ยวข้อง ก่อนรวมกิจการมี HHI มากกว่า 1,800 แล้วหลังรวมกิจการส่งผลให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมี HHI มากกว่า 1,800 และเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 100 แสดงว่าการรวม กิจการทำให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมีการกระจุกตัวสูง ให้ถือว่าการรวมดังกล่าวส่งผลด้านลบต่อการแข่งขันอันถือว่าเป็นการมีอำนาจเหนือตลาดที่ เกี่ยวข้อง

เมื่อนำวิธีการแปลผลดังกล่าวไปปรับใช้กับตัวอย่างตามตารางที่ 3 แล้วจะเห็นได้ว่าการรวมกิจการตามตัวอย่างนั้นแสดงให้ เห็นว่าก่อนการรวมกิจการส่วนแบ่งตลาดของจำนวนยอดขายหากตลาดที่เกี่ยวข้องก่อนรวมกิจการมี HHI น้อยกว่า 1,800 แต่หลังรวม กิจการ ส่งผลให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมี HHI มากกว่า 1,800 แสดงว่าการรวมกิจการทำให้ตลาดที่เกี่ยวข้องมีการกระจุกตัวสูง ดังนั้น การ รวมกิจการระหว่างผู้รับใบอนุญาตรายที่ 1 และรายที่ 2 ตามตัวอย่างนี้จะส่งผลด้านลบต่อการแข่งขันอันถือว่าเป็นการมีอำนาจเหนือตลาดที่ เกี่ยวข้อง *การใช้ผลการคำนวณ

การได้ดัชนี HHI เกินกว่า 1,800 หลังการรวมกิจการเป็นเพียง “หนึ่งในปัจจัย” ที่แสดงให้เห็น “แนวโน้ม” การรวม กิจการจะส่งผลให้การแข่งขันในตลาดการผลิตและค้าส่งไฟฟ้าลดลงเท่านั้น ผลการคำนวณดัชนี HHI ไม่ได้เป็นปัจจัยประการเดียวที่ควรจะ ใช้เพื่อประเมินผลกระทบต่อการแข่งขันหลังการรวมกิจการ ผู้ประเมินควรพิจารณาผลกระทบต่อการแข่งขันในกิจการพลังงานในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น

– การกำจัดโอกาสที่จะเกิดการแข่งขัน (Competitive Constraints) ของผู้ประกอบการอีกราย (หรือหลายราย) ซึ่ง จะส่งผลให้เป็นการเปิดอำนาจเหนือตลาด โดยปราศจากการหันไปร่วมมือกัน (Non-Coordinated Effects)

– การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการแข่งขันในลักษณะที่ผู้ประกอบการที่เดิมทีไม่ได้มีการร่วมมือกัน มีความเป็นไปได้อย่างมีนัย สำคัญในการรวมมือและขึ้นราคาหรือส่งผลเสียต่อการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Competition)

– โอกาสที่จะมีการรวมมือกัน (Coordinated Effects)

– การรวมตัวกันในแนวตั้งอาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน เช่น การจำกัดสิทธิในการแข่งขัน (Foreclosure) ซึ่งอาจเป็น กรณีที่คู่แข่งในตลาดในการเข้าถึงการจัดหา (Supplies) หรือตลาดถูกทำให้หยุดชะงัก (Hampered) หรือถูกขจัดทิ้งหลังจาการรวม กิจการ (ซึ่งส่งผลเป็นการจำกัดความสามารถของคู่แข่งที่จะสามารถแข่งขันได้)

– ผลกระทบจากการรวมกิจการในแนวตั้งยังรวมถึงกรณีที่ไม่เกี่ยวกับความร่วมมือ เช่น การรวมกิจการในแนวตั้งส่งผลให้ผู้ ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูลทางพาณิชย์ที่สำคัญเกี่ยวกับคู่แข่งในระดับอื่นของห่วงโซ่อุปทาน

โดยสรุป การกระจุกตัวของตลาดหลังการรวมกิจการระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานโดยดัชนีเฮอร์ฟินดาห์ล- เฮิร์ชแมน (HHI) นั้นเป็นหนึ่งในวิธีการที่สนับสนุนให้การประเมินผลกระทบนั้นมีความเป็นภววิสัยและอธิบายได้ ทั้งยังเป็นวิธีการที่สอดคล้อง กับแนวทางการปฏิบัติของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม ผลการคำนวณดัชนี HHI ควรถูกนำไปปรับใช้ควบคู่กับผลกระทบอื่น ๆ จากการรวมกิจการ เช่น การกำจัด โอกาสที่จะเกิดการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงของลักษณะการแข่งขันในลักษณะที่ผู้ประกอบการที่เดิมทีไม่ได้มีการร่วมมือกัน โอกาสที่จะมีการ รวมมือกัน ผลกระทบต่อการแข่งขันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน

แต่ยังมีข้อสังเกตว่าในการปรับใช้ดัชนี HHI นั้น ผู้ประเมิน (และผู้พิจารณาคำขอรวมกิจการ) จะต้องทราบถึงขอบเขตตลาด พลังงานและส่วนแบ่งตลาดของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงานเสียก่อน

ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้อำนวยการหลักสูตร LL.M. (Business Law)

หลักสูตรนานาชาติ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 ก.พ. 66)

Tags: ,
Back to Top