พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เปิดผลการดำเนินงานในช่วงวันที่ 1 ต.ค.-31 ธ.ค.65 ภายหลังพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รับตำแหน่ง ผบ.ตร. ทั้งการปราบปรามอาชญากรรมอย่างเฉียบขาดจริงจัง การบังคับใช้ทุกมาตรการทางกฎหมาย การยกระดับการให้บริการประชาชน การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน การแก้ไขปัญหายาเสพติดทุกมิติ และอาชญากรรมออนไลน์ การพนัน อาวุธปืน สถานบริการ เพิ่มความเข้มในการคัดกรองและจัดระเบียบคนต่างด้าวผิดกฎหมาย ดังนี้
1.ด้านการกวาดล้างอาชญากรรม
1.1 สถิติคดีอาญา 4 กลุ่มทั่วประเทศ สามารถจับกุมได้ 221,205 คดี
1.2 การระดมกวาดอาชญากรรมในช่วงเทศกาลสำคัญ (เอเปค, ฟุตบอลโลก, ปีใหม่) จับกุมความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน วัตถุระเบิด และเครื่องกระสุน ทั้งสิ้น 11,811 คดี ผู้ต้องหา 10,450 คน จับบุคคลตามหมายจับคดีอาญาได้ 9,465 หมายจับ ผู้ต้องหา 9,255 คน จับกุมการลักลอบเล่นการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก ผู้ต้องหา 12,245 ราย ยึดทรัพย์สินมูลค่ารวม 1,770,565,337 บาท และเงินทุนหมุนเวียน 11,202,398,188 บาท
1.3 กวาดล้างและจัดระเบียบคนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ระดมกวาดล้างคนต่างด้าว Overstay ในห้วงวันที่ 1-13 ธ.ค.65 จับกุมได้ 7,886 ราย สถิติการจับกุมในข้อหาหลบหนีเข้าเมือง 3,017 ราย, ช่วยเหลือซ่อนเร้น 23 ราย และนำพาคนต่างด้าว 4 ราย สถิติการดำเนินคดีในข้อหาตาม พ.ร.บ.ค้ามนุษย์ (10 ประเภทความผิด) จำนวน 34 คดี จับกุมผู้ต้องหาได้ 64 ราย และช่วยเหลือผู้เสียหายได้ 91 ราย (ข้อมูลจาก ศพดส.ตร.)
1.4 โครงการประชาสัมพันธ์ เครือข่ายป้องกันอาชญากรรม
1.4.1 โครงการฝากบ้าน 4.0 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 มีประชาชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 8,583 ราย เป็นการลงทะเบียนผ่านทางแอปพลิเคชัน “ฝากบ้าน 4.0” จำนวน 7,190 ราย และลงทะเบียนผ่านการติดต่อกับสถานีตำรวจในละแวกบ้าน จำนวน 1,393 ราย ขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าสามารถลงทะเบียนฝากบ้าน 4.0 ได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะช่วงเทศกาล
1.4.2 โครงการ Stop Walk and Talk เป็นการเก็บข้อมูลจากการหยุดรถตรวจพูดคุยกับประชาชน นำข้อมูลมาใช้ในการป้องกันอาชญากรรมก่อนเกิดเหตุ ซึ่งในการห้วงมีการประชุมเอเปค มีการบันทึกข้อมูลบุคคลที่พบปะพูดคุยจำนวน 593,621 ครั้ง
1.4.3 เพื่อนบ้านเตือนภัย ให้ประชาชนสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองได้ในขั้นต้น เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกัน
1.4.4 โครงการ 1 ตำรวจ 1 หมู่บ้าน พบปะทำความรู้จัก รับฟังปัญหาจากประชาชน แสวงหาความร่วมมือ ทำลายกระบวนการยาเสพติด ควบคุมและลดพฤติกรรมที่อันตราย ในระยะที่ 1 จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจลงสู่ชุมชน จำนวน 1,365 ชุมชน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้ 203 คดี
2.ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
2.1 สถิติการจับกุมคดียาเสพติด จับกุมได้ 69,385 คดี ผู้ต้องหา 68,354 คน (ปริมาณของกลาง ยาบ้า 93,118,132 เม็ด, ไอซ์ 77,246 กิโลกรัม, เฮโรอีน 36,861 กิโลกรัม เคตามีน 43,084 กิโลกรัม โคเคน 262 กิโลกรัม และ ยาอี 54,789 เม็ด)
2.2 โครงการค้นหาผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา และผู้ป่วยจิตเวช เพื่อนำเข้าสู่การบำบัดรักษา จำนวน 401,452 คน โดยแบ่งเป็น ผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติดยา จำนวน 350,056 คน ผู้สมัครใจนำเข้ากระบวนการบำบัดยาเสพติด จำนวน 106,937 คน ผู้ป่วยจิตเวชส่งเข้ารับการบำบัด จำนวน 51,396 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจิตเวชสาเหตุจากยาเสพติด จำนวน 25,586 คน
2.3 โครงการชุมชนยั่งยืน ดำเนินการไปแล้วจำนวน 2,966 ชุมชน พบผู้เสพยาเสพติดจำนวน 28,164 คน ในปี 66 จะดำเนินการอีกจำนวน 1,483 หมู่บ้าน/ชุมชน นำเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment : CBTx)
3.ด้านการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
3.1 การแจ้งความออนไลน์ รับแจ้งความ 67,479 คดี ขยายผลและออกหมายจับจำนวน 321 Case ID จับกุมได้ 95 Case ID คิดเป็น 30% พบความเสียหายรวม 8,815,670,563 บาท อายัดบัญชีได้ 24,614 บัญชี อายัดเงินได้ 105,917,104 บาท
3.2 ความร่วมมือภาคีเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์
3.2.1 บันทึกข้อความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติกับสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ มีผู้แทนจากกระทรวงดิจิทัลฯ กสทช. ธนาคารแห่งประเทศไทย ปปง. ร่วมเป็นสักขีพยาน
3.2.2 โครงการสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Vaccine) อบรมครูแม่ไก่ 11 กองบัญชาการ รวม 116 นาย และ ครู ข.ไข่ จำนวน 29 กองบังคับการ
3.2.3 บันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับไปรษณีย์แห่งประเทศไทย จัดทำโปสเตอร์รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ จำนวน 2,000,000 แผ่น แจกจ่ายให้ประชาชนและสถานีตำรวจทั่วประเทศ
3.2.4 โครงการ แชทบอท@police1441 ผ่านแอปพลิเคชัน Line เพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแก่ประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
3.4 ปรับปรุงระเบียบกฎหมาย
3.4.1 ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯ เสนอร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ….. เพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
3.4.2 ร่วมเสนอร่างประกาศ ปปง. เรื่อง การจัดทำข้อมูลบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานและการฟอกเงินฯ เข้าสู่ระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงิน HR-03
4.ด้านการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ
4.1 Service Mind ปรับแนวคิดการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จำนวน 1,484 สถานี เน้นการให้บริการดุจญาติมิตร รับรู้ แก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ ยกระดับการบริการทุกสายงาน เช่น สายตรวจต้องเข้าไปรับรู้ปัญหาของชุมชน (Stop Walk and Talk) พนักงานสอบสวนต้องแจ้งความคืบหน้าทางคดีให้ทราบ เป็นต้น
4.2 สำรวจความพึงพอใจประชาชน ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งประเทศ โดยมีที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการภายนอกเป็นผู้สำรวจจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 80,000 หมู่บ้าน ประชาชน 1 ล้าน คน ทำการสำรวจ 2 ครั้ง/ปี (ครั้งที่ 1 ในเดือน ม.ค.66 และ ครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ค.66)
4.3 การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ออนไลน์ (ผ่านระบบ JCOMS) เปิดช่องทางให้ประชาชนได้มีโอกาสร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ JCOMS : www.jcoms.police.go.th และเว็บไซต์สำนักงานจเรตำรวจ : www.jaray.go.th หรือสแกนผ่านทาง QR Code ปัจจุบันมีการรับเรื่องร้องเรียน 1,851 เรื่อง แจ้งเบาะแส/ขอความช่วยเหลือ 1,261 เรื่อง รวม 3,112 เรื่อง
5.ด้านจราจร
5.1 การดูแลการจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตลอด 7 วัน มีสถิติจำนวนรถเข้า-ออก จากกรุงเทพฯ จำนวน 7,199,251 คัน แบ่งเป็น ขาออก 3,428,939 คัน และขาเข้า 3,770,312 คัน มีการเปิดช่องทางพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น 117 ครั้ง มีการบังคับใช้กฎหมายใน 10 ข้อหาหลัก จับกุมทั้งสิ้น 518,367 ราย จับกุมข้อหาเมาแล้วขับ 22,439 ราย จับกุมข้อหาขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด 199,640 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 21.31% สถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 2,440 ครั้ง ลดลง 22.61% ผู้บาดเจ็บ 2,437 ราย ลดลง 23% เสียชีวิต 317 ราย ลดลง 13.39%
5.2 โครงการสุภาพบุรุษจราจร ประชาชนสัญจรปลอดภัย ตามหลัก 5S Smile: ยิ้มแย้มเป็นมิตร, Smart: บุคลิกภาพดี ใช้เทคโนโลยีทันสมัย, Salute: สุภาพให้เกียรติ, Service Mind: จิตอาสาบริการ, Standard: มาตรฐานสากล สิ่งที่ประชาชนจะได้รับคือ มีตำรวจราจรมืออาชีพในทุกสถานีที่จะดูแลและอำนวยการจราจรแก่ประชาชนอย่างเป็นมิตร ซึ่งมีการอบรมเจ้าหน้าที่แล้วกว่า 18,000 ราย
5.3 โครงการอาสาตาจราจร รณรงค์เพื่อร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการขับรถตามกฎจราจร เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ผู้ที่พบเห็นการทำผิดกฎจราจร หรือพบเห็นอุบัติเหตุจราจรสำคัญ ให้บันทึกเหตุการณ์จากคลิปกล้องหน้ารถ หรือกล้องโทรศัพท์มือถือ แล้วส่งมาให้ในเพจตำรวจทางหลวง หรือเพจกองบังคับการตำรวจจราจร รวมถึงเพจเครือข่ายที่ร่วมโครงการ ทั้งเพจมูลนิธิเมาไม่ขับ สวพ.91 และ จส.100 มีการมอบรางวัลไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 134 รางวัล รวมเป็นเงิน 740,000 บาท
5.4 ปรับปรุงกฎหมายจราจร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ออกประกาศ “เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ขับขี่ขณะขับรถ พ.ศ.2565” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.65 เป็นต้นมา เพื่อกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ขับขี่รถสามารถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถได้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ คือ
1.ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย / อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา / ระบบกระจายเสียง โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่
2.ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับยึดหรือติดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้กับส่วนหน้าของตัวรถทุกครั้งก่อนการขับรถ โดยต้องไม่บดบังทัศนวิสัยหรือเสียความสามารถในการขับรถ กรณีมีความจำเป็นต้องถือ จับ สัมผัสโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้งาน ให้หยุดหรือจอดในสถานที่สำหรับจอดรถอย่างปลอดภัย ทั้งนี้หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
5.5 ระบบตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ ที่มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.66 ผู้ขับขี่ทุกคนต้องมีใบขับขี่ มีคะแนนบันทึกไว้ 12 คะแนน หากทำผิดกฎจราจร หรือค้างชำระค่าปรับ จะถูกหักคะแนน หากถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่ 90 วัน และหากฝ่าฝืนขับรถระหว่างถูกพักใช้ใบขับขี่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน และ/หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หากถูกพักใช้ใบขับขี่ซ้ำๆ อาจถูกเพิกถอนใบขับขี่ทุกประเภท สามารถตรวจสอบคะแนนใบขับขี่ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ Police Ticket Management และแอปพลิเคชัน ขับดี KHUBDEE
โดยสถิติการตัดคะแนนความประพฤติใบขับขี่ตั้งแต่วันที่ 9-15 ม.ค.66 รวมจำนวน 3,446 ราย แบ่งเป็น กลุ่ม 1 คะแนน จำนวน 3,160 ราย, กลุ่ม 2 คะแนน จำนวน 414 ราย ส่วนกลุ่ม 3 คะแนน และกลุ่ม 4 คะแนน เป็นคดีที่ต้องฟ้องศาล ซึ่งจะบันทึกคะแนนเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ข้อหาที่มีการตัดคะแนนมากที่สุด คือ 1) ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีประจำปี จำนวน 1,174 ราย 2) ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด จำนวน 580 ราย 3) ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนรถ จำนวน 516 ราย จังหวัดที่มีการบันทึกและตัดคะแนนมากที่สุด ได้แก่ 1) ชัยนาท 2) กทม. 3) เพชรบุรี
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ม.ค. 66)
Tags: ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์, ตำรวจ, ผลการดำเนินงาน, อาชญากรรม, อาชยน ไกรทอง