ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) มีเป้าหมายในการทำงานในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 66-70) ด้วยโจทย์ 30:30 คือ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP เป็น 30% และวางเป้าให้ไทยเป็น 30 อันดับแรกของโลกที่มีความสามารถการแข่งขันทางดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์ในการเติมเต็มอนาคตธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย คือ
– ประเทศ ต้องเกิดการประยุกต์ใช้กลไกการกำกับดูแล Digital Platform ภายใต้มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ เกณฑ์การกำกับที่จำเป็น เกิดแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม และต้องมีข้อมูล Strategic Foresight ที่ช่วยให้การมองอนาคตดิจิทัลชัดขึ้นในรูปแบบงานวิจัยและข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะในมิติ Well-being, Digital Tourism ภายใต้ Foresight Center ที่ ETDA ร่วมกับ Partner ไทยและต่างประเทศจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลการทำธุรกรรมฯ ของประเทศ ที่พร้อมกระจายความรู้สู่ทุกภาคส่วน ต้องมีกรอบธรรมาภิบาลสำหรับการประยุกต์ใช้ AI หรือ AI Governance Framework โดยเริ่มในกลุ่ม Health Sector และมี AI Governance Course เพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริการและบุคลากรในการประยุกต์ Framework และต้องมีดัชนีความพร้อมทางด้านดิจิทัล หรือ Digital Transformation Maturity Index เพื่อให้ทราบถึงสถานะของผู้ประกอบการ ปัญหา อุปสรรคและนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไข ส่งเสริมเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่ตรงความต้องการมากที่สุด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ของประเทศ และสุดท้าย คือ การมีแนวทางการบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain
– เอกชน ผู้ประกอบการ SMEs และ Service Provider ต้องเร่งเครื่องการจับคู่ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ผ่านกิจกรรม Business matching ร่วมสร้างบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ รองรับธุรกิจดิจิทัล ผ่านการจัดกิจกรรม Hackathon และการทดสอบนวัตกรรม ภายใต้ Innovation Sandbox by ETDA และ ETDA Testbed สำหรับ SMEs จะมีแหล่งให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ผ่านศูนย์ ADTE by ETDA ที่ร่วมกับพาร์ทเนอร์พัฒนาหลักสูตร Mandatory course ที่จำเป็นสำหรับคนยุคดิจิทัล
– หน่วยงานรัฐ เร่งเครื่องสนับสนุนกับหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบเร็วที่สุด ภายใต้กฎหมาย มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการให้คำปรึกษาแนวทางปฏิบัติจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ ETDA ทั้งยังต้องมีหลักสูตรความรู้ที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยสถาบัน ADTE เพื่อให้เกิดการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งขยายผลให้เกิดการใช้งานระบบ e-Saraban ระบบ e-Timestamp ระบบ e-Signature กับหน่วยงานสำคัญๆ ของภาครัฐขยายวงกว้างยิ่งขึ้น
– ประชาชน จะเดินหน้าพัฒนาคนไทยและกลุ่มที่เปราะบาง ตลอดจนกลุ่มผู้พิการ ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ผ่านการต่อยอดโครงการ ETDA Digital Citizen (EDC) และ EDC Trainer ที่กระจายความรู้ไปทั่วประเทศมากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งมีการเข้าถึงทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมมุ่งยกระดับความรู้ของคนในชุมชน สู่การสร้างรายได้ ผ่านเครือข่ายในพื้นที่ อย่าง สถาบันการศึกษาและผู้นำชุมชน ไปกับโค้ชดิจิทัลชุมชน หรือ ETDA Local Digital Coach (ELDC) ที่จะกระจายสู่ 4 ภูมิภาค พร้อมๆ กับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ ผ่านหลักสูตร EASY e-Commerce ที่สามารถเข้าเรียนได้ผ่านออนไลน์ต่อยอดสู่กิจกรรม Pitching เพิ่มทักษะการคิดในเชิงธุรกิจมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ด้วยการเพิ่มเครือข่ายการทำงานของ ศูนย์ 1212 ETDA ที่ลงลึกระดับพื้นที่มากขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน ETDA จึงเดินหน้าจัดงานใหญ่ ครั้งแรกกับงาน Digital Governance Thailand หรือ DGT 2023 ภายใต้คอนเซปต์ Happiness Creation ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ สามย่านมิตรทาวน์ นับเป็นมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะรวมพลพาร์ทเนอร์ด้านดิจิทัลจากทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อมาร่วมขับเคลื่อนและร่วมสร้างสรรค์ให้ชีวิตดิจิทัลของคนไทย….มีความสุข พร้อมก้าวสู่โลกอนาคตได้เร็วและสำเร็จยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ตัวเลข 30:30 ไปด้วยกัน
สำหรับในปี 65 ETDA มุ่งยกระดับชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีขึ้น ผ่านการดำเนินงานหลักๆ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
- ส่วนที่ 1 การผลักดัน National Strategic plan เร่งเครื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ผ่าน ร่างแผนยุทธศาสตร์ธุรกรรมฯชาติปี 66-70, การคาดการณ์อนาคตระยะ 10 ปี โดยศูนย์ Foresight Center by ETDA เพื่อหาแนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
- ส่วนที่ 2 การส่งเสริมให้เกิด Digital ID Ecosystem รองรับการใช้งาน Digital ID ในวงกว้าง ผ่านการเตรียมทั้งร่างกฎหมายมาตรฐาน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID และการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเห็นตัวอย่างการใช้งาน Digital ID ในปัจจุบัน ด้วยแคมเปญ MEiD บริการไทย…ไร้รอยต่อ
- ส่วนที่ 3 การกำกับ ดูแล Digital Platform ให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสในการแข่งขัน ผ่านร่างกฎหมาย Digital Platform
- ส่วนที่ 4 Digital Adoption & Transformation ยกระดับความรู้ความสามารถ เพื่อให้คนไทยยกระดับการทำงานและธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ไปกับสถาบัน ADTE by ETDA แหล่งรวมความรู้เพื่อคนดิจิทัล และแคมเปญ ETDA Launchpad ที่สร้างพื้นที่ของการจับคู่ธุรกิจระหว่าง SMEs และผู้ให้บริการดิจิทัล และกิจกรรม AI Governance Webinar
- ส่วนที่ 5 Human Development พัฒนาคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน ผ่านโปรเจกต์ ETDA Digital Citizen (EDC) โค้ชดิจิทัลชุมชนและได้รับการช่วยเหลือ…เมื่อตกเป็นเหยื่อ ผ่านศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (1212ETDA) เป็นต้น
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 พ.ย. 65)
Tags: ETDA, ชัยชนะ มิตรพันธ์, ดิจิทัล, เศรษฐกิจไทย