นายกฯ ชวนร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ หวังบรรเทาภาระหนี้-แก้ปัญหาตรงจุด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวเปิดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” โดยระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยเสื่อมถอยลง เนื่องจากประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจขาดรายได้ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำลง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้คลี่คลายลงแล้ว และสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แต่ปัญหาภาระหนี้ของประชาชนยังคงอยู่

รัฐบาลเห็นถึงความสำคัญของปัญหาหนี้ครัวเรือน และต้องการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง จึงได้กำหนดให้ “ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน” เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขหนี้ครัวเรือน และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงาน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการได้อย่างเบ็ดเสร็จ

นายกรัฐมนตรี ย้ำถึงการจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ในครั้งนี้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐบาลในปี 2565 เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ในงานมหกรรมจะมีกิจกรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม (2) การสร้างรายได้ผ่านการสร้างอาชีพหรืออาชีพเสริม และ (3) การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนด้วยการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ โดยการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 1 และจะมีกำหนดจัดงานครั้งต่อ ๆ ไป อีก 4 ครั้ง ครอบคลุมทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 – มกราคม 2566

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญชวนทุกคนให้มาร่วมงาน เพื่อเข้ารับคำปรึกษาในการจัดการแก้ไขปัญหาหนี้จากหน่วยงานต่าง ๆ โดยหวังว่างานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ฯ จะช่วยให้ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้อย่างตรงจุด สอดคล้องกับศักยภาพในการชำระหนี้ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมความรู้และการสร้างวินัยทางด้านการเงิน เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักหนี้สินได้อย่างยั่งยืน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ยอดหนี้เสียในระบบที่สามารถรวบรวมได้อย่างเป็นทางการ ณ ช่วงกลางปี 2565 พบว่า มีหนี้เสียในระบบทั้งสิ้น 8.53 แสนล้านบาท คิดเป็น 3.47% จากยอดสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 24 ล้านล้านบาท โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นหนี้เสียของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ราว 3 แสนกว่าล้านบาท หรือ 5% และของธนาคาร

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 พ.ย. 65)

Tags: , , , ,
Back to Top