บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำซื้อ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) โดยประเมินราคาเป้าหมายที่ 11.30 บาท ทั้งนี้ กำลังมีการเจรจากันว่าจะเก็บค่าโดยสาร 15 บาท/เที่ยวสำหรับส่วนต่อขยาย ซึ่งเชื่อว่า BTS จะยอมรับข้อเสนอนี้ ซึ่งหมายความว่า BTS จะเริ่มได้รับรายได้จากบริการ O&M ปีละ 4.6 พันล้านบาท ถึงแม้ว่ากำไรจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่สถานะกระแสเงินสดของ BTS จะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ กทม. ยังค้างชำระค่าบริการ O&M และงาน E&M ในอดีตของ BTS อีก 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเรามองว่าใน Blue-sky scenario จะทำให้ EPS โตถึง 25% จากภาระหนี้ที่ลดลง เริ่มเก็บค่าโดยสารจากส่วนต่อขยาย = BTS จะได้เงิน ตามรายงานข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ในวันนี้ ผู้ว่าฯ กทม. จะเสนอสภา กทม. ให้พิจารณาสามวาระเกี่ยวกับรถถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยวาระแรกคือการเริ่มเก็บค่าโดยสาร 15 บาท/เที่ยวสำหรับสายสีเขียวส่วนต่อขยายทิศเหนือ (จากหมอชิต-คูคต) และทิศใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ซึ่งหาก สภา กทม. เห็นชอบตามข้อเสนอนี้ก็จะเริ่มเก็บค่าโดยสารตามอัตรามใหม่นี้ได้ภายในหนึ่งเดือน (ธันวาคม 2565 หรือ มกราคม 2566)
วาระที่สองคือการไม่ตกลงต่อสัญญาสัมปทานออกไปอีก 30 ปีจากเดิมที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2572 เป็น เดือนธันวาคม พ.ศ.2602 ซึ่งวาระนี้เป็นการตอบกระทรวงมหาดไทยในประเด็นที่ กทม. ต้องการขยายสัญญาสัมปทานให้กับ BTS เพื่อแลกกับหนี้ก้อนใหญ่ที่เกิดจากการก่อสร้างสายสีเขียวส่วนต่อขยายทิศเหนือ และใต้ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ว่า กทม. อยากเห็นการเปิดประมูลใหม่หลังสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572
ส่วนวาระที่สาม ผู้ว่า กทม. จะเสนอให้รัฐบาลให้เงินอุดหนุนต้นทุนค่าก่อสร้างงานโยธาของส่วนต่อขยาย (ทั้งด้านเหนือและใต้) 5.8 หมื่นล้านบาท แทนที่จะเป็นภาระของ กทม. คาดว่ากระแสเงินสดจะดีขึ้นจากการเริ่มเก็บค่าโดยสาร
“เรามองว่าการเคลื่อนไหวของผู้ว่า กทม. เป็นบวกกับ BTS ทั้งในเชิงของภาวะตลาด และปัจจัยพื้นฐาน โดยการเริ่มเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยายจะทำให้สถานการณ์ด้านกระแสเงินสดของ BTS ดีขึ้นทันที ทั้งนี้ BTS ได้เริ่มเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว และแบกต้นทุนการดำเนินงานมาตลอดโดยไม่ได้รับรายได้จาก กทม. เลย”
บล.กรุงศรี คาดว่า BTS จะได้รับค่าบริการ O&M 4.6 พันล้านต่อปี (หรือ 387 ล้านบาทต่อเดือน) จากการเก็บค่าโดยสารของ กทม. นอกจากนี้ กทม. ยังค้างชำระ BTS ในส่วนของบริการ O&M และงาน E&M ในอดีตอยู่อีก 3.1 หมื่นล้านบาท ซึ่ง กทม. จะต้องหาวิธีชำระหนี้ก้อนนี้ การที่ BTS ได้รับเงินก้อนนี้จะทำให้บริษัทสามารถชำระหนี้ได้ และลดสัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนลงเหลือ 1.6x จาก 2.4x ซึ่งในกรณีที่ไม่มีการขยายสัมปทานหลังปี 2029
นอกจากนี้ เชื่อว่า กทม. จะเปิดประมูลสายสีเขียวใหม่ และต้องชดเชยสัญญา O&M ซึ่งครอบคลุมไปจนถึงปี พ.ศ.2585 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาทให้กับ BTS
แนะนำซื้อ โดยประเมินราคเป้าหมายที่ 11.30 บาท ยังคงคำแนะนำซื้อ BTS และคงราคาเป้าหมายเอาไว้ที่ 11.30 บาท เราเชื่อว่าราคาหุ้น BTS ในปัจจุบันสะท้อนข่าวร้ายไปเกือบหมดแล้ว ซึ่งรวมถึงความกังวลด้านกฎเกณฑ์ทางการที่เกี่ยวกับ กทม. และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ด้วย ทั้งนี้ เราคาดว่าผลประกอบการมีแนวโน้มจะฟื้นตัวขึ้นจากเมื่อสองปีที่ผ่านมาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (26 ต.ค. 65)
Tags: BTS, ค่าโดยสาร, บีทีเอส, รถไฟฟ้า, หุ้นไทย