โลกเสมือนจริง (Metaverse) ที่ใครเข้าไปทำอะไรก็ได้ สร้างตัวตนของตนเองใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับโลกแห่งความเป็นจริง ด้านหนึ่งเป็นโอกาสในการทำธุรกิจ สร้างผลตอบแทน แต่ในอีกมุมหนึ่ง Metaverse ก็อาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางของกลุ่มมิจฉาชีพ หรือผู้ประสงค์ร้ายที่คิดไม่ดี ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่มีผู้ถูกหลอกลวง ทำให้เสียชื่อเสียง เสียทรัพย์สิน อย่างที่เราเห็นเป็นประจำ
หรือจริง ๆ แล้ว โลก Metaverse ที่ขาดการควบคุม (ผู้คุมกฎ) จะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับสังคมในปัจจุบัน!?
อย่างที่ทุกท่านรู้กันว่าโลก Metaverse เป็นโลก Decentralized และ Web3 ที่ทุกคนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ทำอะไรก็ได้ และด้วยความเป็น Decentralized นี่เองที่เป็นช่องว่างให้กลุ่มผู้ร้ายได้แฝงตัวเข้าไปกระทำความผิด
อย่างกรณีของชาวเกาหลีใต้ที่มีประวัติคุกคามทางเพศ ได้ปลอมตัวเข้าไปเป็นอวตารเด็กและใช้โลก Metaverse เป็นช่องทางในการล่อลวงเด็กคนอื่น ๆ เพื่อถ่ายรูปในลักษณะล่วงละเมิดทางเพศและเผยแพร่ต่อ ล่าสุดถูกจับและโดนลงโทษจำคุก 4 ปี
หรืออย่างกรณีของหญิงคนหนึ่งที่เข้าไปในโลก Metaverse ด้วยร่างอวตารโดนล่วงละเมิดจากกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในร่างอวตารเช่นกัน ซึ่งเราเคย Mention กันไปใน Decrypto: การคุกคามทางเพศในโลก Metaverse https://www.infoquest.co.th/2022/235327 หรือแม้แต่กลุ่มคนที่หลอกขายที่ดินในโลก Metaverse ซึ่งก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ล่าสุด ทางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้มีการจัดตั้งกรมตำรวจ “Ajman Police” เพื่อเข้ามาดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยในโลก Metaverse โดย “Ajman Police” จะคอยเข้ามาสอดส่อง ดูแลข้อมูลที่เข้าข่ายมิจฉาชีพ หรือผู้กระทำความผิดในโลก Metaverse เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีของ Web3
“Moola Market” แพลตฟอร์ม DeFi ที่ให้บริการกู้ยืม หรือที่เราเรียกกันว่า Lending Protocal โดนแฮ็ก มูลค่าความเสียหายกว่า 8.4 ล้านดอลลาร์
เคสนี้ Igor Igamberdiev จาก “The Block Research” พบว่าผู้โจมตีใช้โทเค็น “CELO” จาก Binance และในทางกลับกันได้ให้แพลตฟอร์ม “Moola” ยืมเหรียญ “CELO” จำนวน 60,000 CELO เพื่อไปกู้ยืมเหรียญ “MOO” 1.8 ล้าน MOO เพื่อใช้เป็นหลักประกัน และด้วย “CELO” ที่เหลือ แฮ็กเกอร์ก็ได้ Pump ราคาของ “MOO” และใช้ “MOO” ที่ยืมมาเป็นหลักประกันในการยืมโทเค็นผ่านโปรโตคอลการให้ยืม DeFi อื่นๆ ต่อไปเป็นทอดๆ
แฮ็กเกอร์ ได้เหรียญ CELO, เหรียญ MOO และเหรียญ cEUR, cUSD ไปทั้งหมดมูลค่ากว่า 8.4 ล้านดอลลาร์
งานนี้โทษใครไม่ได้ เพราะว่าแพลตฟอร์มแข็งแรงไม่พอ ไม่สามารถต้านการโจมตีของแอ็กเกอร์ได้ สำหรับใครที่เป็นสาย DeFi ควรทำความเข้าใจ ศึกษาแพลตฟอร์มให้ดีก่อนการลงทุน
อย่างที่ทุกท่านเคยได้ยินว่าทาง “Mastercards” รุกตลาดคริปโทฯ อย่างชัดเจน ล่าสุด ทาง “Mastercard” ก็พร้อมที่จะเป็นสะพานในการเชื่อมต่อระหว่าง “Paxos” ผู้ให้บริการ “Trading Platform” ที่ทาง “Paypal” ใช้บริการอยู่ กับธนาคารทั่วโลกในการให้บริการซื้อขายคริปโทฯ แล้ว
โดยทาง “Mastercard” ยินดีที่จะช่วยในเรื่องของการจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ทางธนาคารจำเป็นต้องปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามเกณฑ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็น 2 เรื่องใหญ่ที่ทำให้ธนาคารหลายแห่งไม่ค่อยอยากยุ่งกับคริปโทฯ ก
และจากการสำรวจลูกค้าของ Mastercard พบว่าหลายคนสนใจในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ขาดความมั่นใจในการซื้อขายผ่านระบบของ Exchange ทั่วไป ซึ่ง Jorn Lambert, Chief Digital Officer ของ “Mastercard” ก็ได้ออกมากล่าวว่า ถ้าผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างคริปโทฯ สามารถเสนอขายผ่านสถาบันการเงินที่มีความมั่นคงเหล่านี้ได้ก็จะสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น
ทั้งหมดนี้คือ Crypto SHOT ข่าวสารวงการคริปโทฯ ที่ใครก็อยากรู้
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ต.ค. 65)
Tags: Cryptocurrency, CryptoShot, DeFi, Mastercard, Metaverse, Moola Market, Paxos, คริปโทเคอร์เรนซี