ภาคปชช. ร้องกสม.ปมควบรวม TRUE-DTAC จี้กสทช.ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ-เปิดผลศึกษาตปท.

เครือข่ายสลัมสี่ภาค ยื่นหนังสือถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คัดค้านกรณีควบรวม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ไปสู่การเป็น บริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและมีอำนาจ เหนือตลาดในธุรกิจโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการควบรวมกิจการยังส่งผลต่อทางเลือกของผู้บริโภคในการ เลือกผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือที่น้อยลง และอาจทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล การปฏิบัติทางการค้า และราคาค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ได้ให้ที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ คือ “SCF Associates LTD” ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจะหว่าง TRUE และ DTAC (A Study on the Impact of a Proposed Merger) โดยสำนักงาน กสทช.จะเสนอรายงานฉบับดังกล่าวให้ที่ ประชุม คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณา กรณีการควบรวมดังกล่าว ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 นี้

จากที่สื่อได้เผยแพร่รายละเอียด ผลการศึกษาจากที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ “SCF Associates LTD” เกี่ยวกับผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC (A Study on the Impact of a Proposed Merger)” ซึ่งบางประเด็นจากผลการศึกษา เป็นประเด็นที่ผู้บริโภคมีความห่วงกังวลเป็น อย่างยิ่ง ดังเช่นบางตอนที่ระบุว่า “กสทช. ควรจะให้น้ำหนักความสำคัญในการประเมินประเด็นด้านภูมิศาสตร์ หรือ ด้านการกระจายรายได้ อย่างไรก็ตามผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายควรคำนึงเกี่ยวกับการแบ่งแยกทางดิจิทัล หากไม่ทำการแทรกแซง โดยเฉพาะการออกกฎ ระเบียบในการควบรวม ก็จะทำให้เกิดเป็น Duopoly (การแข่งขันเพียง 2 บริษัทในตลาด) โดยปริยาย และวิธีการจัดการของ MNO (ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีโครงข่ายของตัวเอง) ที่ชัดเจน คือ การเพิกเฉยต่อบริการพื้นที่ชนบท (ภูมิภาคที่มีรายได้น้อยและห่างไกล) จะขาดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่

จากนั้น MNOS ทั้ง 2 ราย จะมุ่งเน้นทำการตลาดไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีรายได้สูง พื้นที่เมือง และพื้นที่ ประชากรหนาแน่นเป็นหลัก โดยคำนึงถึงผลตอบแทนหรือกำไรมากกว่าในเขตพื้นที่เมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับ 5G เนื่องจากสามารถใช้ความถี่สูงที่มีช่วงสั้น (ลึก ถึง 50 เมตร) ได้ ดังนั้น การใช้งานในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง (พื้นที่ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการสูงกว่า) จึงทำกำไรได้สูงขึ้น เป็นการลงทุนที่คุ้มทุนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด” ซึ่งประเด็น ดังกล่าวบ่งชี้ชัดเจนว่า การควบรวมที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและมีรายได้ น้อย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องลงทุนสูงเพราะพื้นที่ห่างไกล และเป็นกลุ่มที่ไม่ทำกำไรให้กับธุรกิจ

เครือข่ายสลัม 4 ภาค พิจารณาแล้วเห็นว่า หาก กสทช. มีผลการพิจารณาให้มีการควบรวมธุรกิจ โทรคมนาคมดังกล่าว จะทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในต่างจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจะถูกทอดทิ้งและไม่ได้รับการ บริการสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณอินเตอร์เน็ต รวมถึงผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในเมืองที่จะต้องเสียค่าบริการสูงขึ้น กว่าเดิม ซึ่งอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิการใช้ทรัพยากรสาธารณะของประชาชน

เครือข่ายสลัม 4 ภาค จึงได้รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สนับสนุนให้ กสทช.ทำหน้าที่ ในฐานะองค์กรอิสระให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของ ประชาชน ในฐานะผู้บริโภคทุกคนที่มีสิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย จากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชย ความเสียหาย รวมถึงสิทธิที่จะได้รับข่าวสาร คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ระบุว่า รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการ เข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน รวมไปถึงเป็นการ ปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนทุกคน

ขอเรียกร้อง ให้ กสทช.ทำหน้าที่ ในฐานะองค์กรอิสระให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และกฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กิจการโทรคมนาคม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยการเปิดเผยผลการศึกษาจากที่ปรึกษาอิสระจาก ต่างประเทศ “SCF Associates LTD” เกี่ยวกับผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC (A Study on the Impact of a Proposed Merger) ต่อสาธารณชนก่อนที่จะมีการลงมติกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมในครั้งนี้

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (17 ต.ค. 65)

Tags: , , , , ,
Back to Top