เงินบาทเปิด 37.65 แนวโน้มอ่อนค่า หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 37.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 37.41 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าค่าสอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค หลังจากเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯเปิดเผยข้อมูลการจ้างงาน นอกภาคเกษตรเดือนก.ย. ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาดการณ์ ประกอบกับอัตราการว่างงาน ก็ดีกว่าที่ตลาดคาดเช่นกัน จึงส่งผลให้ดอลลาร์ สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

“เมื่อวันศุกร์ สหรัฐฯรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงาน ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ดอลลาร์จึง แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ แต่วันนี้คาดว่าการซื้อขายจะเบาบาง เพราะหลายตลาดปิดทำการ เช่น ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน”

นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่า ให้กรอบไว้ที่ 37.50-37.75 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (7 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.07453% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.19373%

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.42 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 144.84 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 0.9747 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 0.9804 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 37.422 บาท/ดอลลาร์

– เอสเอ็มอีดีแบงก์เสนอคลัง ชง ครม.ใส่เงินเพิ่มทุนอีก 6,000 ล้านบาท เสริมแกร่งเงินกองทุน รอรับปล่อยเงินกู้เติม สภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอี รับเศรษฐกิจฟื้นตัวหลังโควิด จ่อขยายเพดานอนุมัติสินเชื่อต่อรายได้ 100-200 ล้านบาท จากปัจจุบันปล่อยได้ไม่ เกิน 50 ล้านบาท

– ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สรุปมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์สะสมตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-7 ตุลาคม 2565 พบ ว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ 138,233.13 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ขายสุทธิ 80.75 ล้านบาท นักลงทุน ต่างประเทศซื้อสุทธิ 149,033.18 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปในประเทศ (รายย่อย) ขายสุทธิ 10,719.30 ล้านบาท

– ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ท่ามกลางความผันผวนและความไม่แน่นอนของ เศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังเผชิญปัญหา Perfect Storm ทั้งปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าพลังงานที่แพง สง ครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อจนส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นโดยเฉพาะค่าแรงที่ปรับขึ้น และเงินบาทอ่อน ค่าที่แม้จะดีต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่ในภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการนำเข้า เป็นต้น

– สรท.เผยส่งออกไทย เริ่มแผ่วไตรมาส 4 ต่อเนื่องถึงปีหน้า ประเมินปี 66 เศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากปัญหารุมเร้า เพียบ ทั้งสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย สกัดเงินเฟ้อ ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์พลังงานแพงแนะเร่งหาตลาดส่งออกใหม่ ดูแลค่าพลังงาน รักษาเงินบาท ให้มีเสถียรภาพ ด้านนักเศรษฐศาสตร์คาดส่งออกปีหน้าเสี่ยงติดลบเหตุเศรษฐกิจโลกชะลอ

– ไอเอ็มเอฟเรียกร้องผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก ระดมสรรพกำลังหลีกเลี่ยง “นิวนอร์มอล” อันตรายจากความเสี่ยงเศรษฐกิจ ถดถอยทั่วโลกผลจากเศรษฐกิจช็อกซ้ำแล้วซ้ำเล่าสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 263,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 250,000 ตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าระดับ 315,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.5% ในเดือนก.ย. จากระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.

ทั้งนี้ นักลงทุนมองว่า ตัวเลขจ้างงานที่สูงกว่าคาดดังกล่าวและอัตราว่างงานที่ลดลงนั้น บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งในตลาดแรง งานสหรัฐ และจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป

– ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า เฟดจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อควบคุมเงินเฟ้อซึ่งอยู่ในระดับสูงเกินไป

– นักลงทุนเพิ่มการคาดการณ์ที่ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในเดือนพ.ย. ซึ่งจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 หลังจากปรับขึ้น 0.75% ในเดือนมิ.ย., ก.ค. และก.ย.

– ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกเดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาด ยังรอติดตามบันทึกการประชุมเฟด (20-21 ก.ย.)

– นักลงทุนจับตาการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประเดือนก.ย.ของสหรัฐในวันที่ 13 ต.ค.นี้ เพื่อหาสิ่งบ่งชี้ทิศทาง อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 ต.ค. 65)

Tags: , ,
Back to Top