ปูตินย้ำรัสเซียจะไม่หันไปใช้เศรษฐกิจระบบปิดแม้ถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร

Russia’s President Vladimir Putin attends a meeting with Russian young entrepreneurs ahead of the St. Petersburg International Economic Forum in Moscow, Russia June 9, 2022. Sputnik/Mikhail Metzel/Kremlin via REUTERS ATTENTION EDITORS – THIS IMAGE WAS PROVIDED BY A THIRD PARTY. (ภาพ: รอยเตอร์)

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของรัสเซียจะไม่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับยุคม่านเหล็ก ( Iron Curtain) ในช่วงสงครามเย็น แม้รัสเซียจะเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกก็ตาม โดยรัสเซียจะไม่ตัดขาดตัวเองจากสังคมโลกเหมือนอย่างสมัยสหภาพภาพโซเวียต

ชาติตะวันตกได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารรุกรานยูเครน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจรัสเซียหดตัวรุนแรงเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2534 ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง

ทั้งนี้ ปธน.ปูตินตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับข้อตกลงกับจีนและอินเดียขณะที่เศรษฐกิจของรัสเซียถูกปิดกั้น ก่อนที่การประชุมเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก อีโคโนมิก ฟอรัม (Petersburg Economic Forum) จะเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์หน้า

“เศรษฐกิจของรัสเซียจะยังคงเปิดต่อไป เราจะไม่มีระบบเศรษฐกิจแบบปิด เราไม่เคยปิดและจะไม่ปิดเศรษฐกิจ” ปธน.ปูตินกล่าวกับผู้ประกอบรุ่นใหม่ในการประชุมทางไกล

“เราไม่มีระบบเศรษฐกิจแบบปิดเหมือนอย่างในยุคสหภาพโซเวียตซึ่งเราตัดขาดออกจากโลก สร้างสิ่งที่เรียกว่า ม่านเหล็ก เราสร้างมันขึ้นมากับมือ แต่จะไม่ทำผิดซ้ำอีก เศรษฐกิจของเราจะเป็นแบบเปิด”

อย่างไรก็ดี ในปี 2548 ปธน.ปูตินในขณะนั้นระบุว่า การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเป็นหายนะทางภูมิศาสตร์ครั้งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 เพราะทำให้ชาวรัสเซียหลายสิบล้านคนยากจนลง และรัสเซียเองต้องล่มสลาย

การที่บริษัทและนักลงทุนรายใหญ่ของสหรัฐและยุโรปพากันออกจากรัสเซีย ทำให้รัฐบาลรัสเซียเบนเข็มออกจากชาติตะวันตก และหันไปพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและผูกมิตรกับจีน อินเดีย และกลุ่มมหาอำนาจในตะวันออกกลาง

สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวลง 15% ในปีนี้ และหดตัวลง 3% ในปีหน้า เนื่องจากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรที่ชาติตะวันตกบังคับใช้กับรัสเซีย รวมทั้งการที่บริษัทต่างชาติพากันถอนธุรกิจออกจากรัสเซีย, ปัญหาบุคลากรคุณภาพแห่ออกนอกประเทศ และการส่งออกทรุดตัวลง

 

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (10 มิ.ย. 65)

Tags: , ,
Back to Top