นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาธุรกิจใหม่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น (SAMART) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มสามารถในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 นับว่าเป็นไปตามคาด โดยย้ำทุกสายธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ในปีนี้บมจ.สามารถดิจิตอล (SDC) ฟื้นตัวอย่างชัดเจน
นอกเหนือจากความพยายามในการฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โรคระบาดแล้ว บริษัทได้ศึกษาและมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงและการเติบโตอย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้หาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายทางการเงิน และเพิ่มความคล่องตัวในการลงทุน อาทิ การออกหุ้นกู้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และกำลังศึกษาแนวทางในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Inirastructure Fund) เพื่อระดมทุนมาใช้ในโครงการ DTRS หากมีความคืบหน้า ก็จะนำเสนอต่อไป
ในไตรมาส 1/65 กลุ่มสามารถมีผลงานเด่น คือ การติดตั้งและส่งมอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสุราแช่ชนิดเบียร์ ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ ซึ่งมีมูลค่าโครงการรวม 8,000 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเริ่มให้บริการพิมพ์รหัสควบคุมบนบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นมา ทำให้บริษัทเริ่มทยอยรับรู้รายได้ โดยในปีนี้จะมีรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 600 ล้านบาท
ขณะที่สายธุรกิจ U-Trans โดยเฉพาะบริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด (CATS) ส่งสัญญาณบวกของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน จากจำนวนเที่ยวบินในไตรมาสแรกที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 38% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน
ส่วนสายธุรกิจ ICT ภายใต้การบริหารของบมจ.สามารถเทเลคอม (SAMTEL) ก็มีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นเช่นกัน โดยในปีนี้ ตั้งเป้าชนะโครงการประมาณ 11,000 ล้านบาท แค่เฉพาะไตรมาสแรก มีการเซ็นต์สัญญาใหม่ไปแล้ว มูลค่ารวมกว่า 3,000 ล้านบาท ส่งผลให้มี Backlog ณ สิ้นไตรมาสแรก สูงถึง 8,000 ล้านบาท โดยบริษัทมุ่งนำเสนอ 4 โซลูชั่นมาแรง 1. Financial and Banking Solutionการขยายสาขา Smart Branch Outsourcing ในเฟสต่อไป 2. Solutions for Utility Sector ที่จะมีการ
สายธุรกิจ Samart Digital ภายใต้การบริหาร บมจ.สามารถดิจิตอล (SDC) กระจายความสี่ยงและสร้างสมดุลย์ให้กับพอร์ตธุรกิจด้วย 2 สายธุรกิจ คือ Digital Trunk Radio System (DTRS) เน้นสร้างรายได้ประจำจากค่าใช้บริการรายเดือน และค่าเช่าเครื่องลูกข่าย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการจาก 2 หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 85,000 เครื่อง คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 115,000 เครื่องในสิ้นปีนี้
อีกหนึ่งธุรกิจ คือ Digital Content & Service เน้นสร้างรายได้เติบโตตาม Digital Trend & Lifestyle ของคนยุคใหม่ โดยจะส่งผ่าน Content และบริการสายมู สายกี่ฬา และ Lifestyle ไปสู่ผู้บริโภคผ่าน Application ที่ครบครันและง่ายต่อการใช้งาน
นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดตั้งบริษัท LUCKY Heng Heng ขึ้น โดยใช้รูปแบบการระดมทุนและการบริหารงานแบบ Stat Up เพื่อให้กิดความคล่องตัวและรองรับการทำงานของคนรุ่นใหม่ ซึ่งภายใต้บริษัทนี้ จะประกอบธุรกิจสายมู คือ Horoword Mobile Application เป็น
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 มิ.ย. 65)
Tags: SAMART, วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์, สามารถคอร์ปอเรชั่น, หุ้นไทย