ราคากลุ่มแบงก์อ่อนตัวลง หลัง S&P ลดอันดับเครดิต 4 แบงก์ เมื่อเวลา 10.00 น. นำโดย
- KBANK ปรับลง 1.58% หรือ ลดลง 2.50 บาท มาที่ 156 บาท
- SCB ปรับลง 2.18% หรือ ลดลง 2.50 บาท มาที่ 112.00 บาท
- TTB ปรับลง 2.29% หรือ ลดลง 0.03 บาท มาที่ 1.28 บาท
- KTB ปรับลง 0.74% หรือ ลดลง 0.10 บาท มาที่ 13.40 บาท
บล.เคทีบีเอสที (KTBST) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า S&P ได้ประกาศปรับลด (Downgraded) อันดับเครดิต ของ 4 ธนาคาร คือ
- SCB ปรับลงมาเป็น BBB/Stable จาก BBB+/Negative
- KBANK ปรับลงมาเป็น BBB/Stable จาก BBB+/Negative
- KTB ปรับลงมาเป็น BBB-/Stable จาก BBB/Negative
- TTB ปรับลงมาเป็น BBB-/Stable จาก BBB/Negative
อย่างไรก็ตาม ยังคง Credit rating เดิมสำหรับ BBL (BBB+/Stable) และ BAY (BBB+/Stable)
S&P มองว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic risk) สูงขึ้นในด้าน
- หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และจะอยู่เป็นเวลานานกว่าที่เคยคาดไว้ก่อนหน้า
- S&P มองว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ (Debt relief program) แม้จะช่วยประคองภาพรวม NPL ไม่ให้ปรับตัวขึ้น แต่ทาให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนทาได้ช้าลง
- ภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง และการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกัน (Uneven recovery) โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว
- สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อาจทาให้การฟื้นตัวกลับไปที่ Pre-COVID level ของจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยช้ากว่าคาด (ที่มา: Bloomberg)
Implication มองเป็นลบต่อ SCB, KBANK, KTB และ TTB ที่ถูก downgrade credit rating เพราะจะส่ง sentiment เชิงลบต่อราคาหุ้นในระยะสั้น ส่วนด้านต้นทุนในการออกหุ้นกู้จะกระทบจำกัดเพราะมีสัดส่วนหุ้นกู้เพียง 2-3% ของหนี้สินทั้งหมด (ส่วนใหญ่เป็นเงินฝาก)
อย่างไรก็ดีจาก สถานการณ์โควิดที่ไม่ได้รุนแรงเหมือนก่อนหน้านี้ ทำให้เราคาดว่า NPL จะยังคงทยอยเพิ่มขึ้นและไม่น่ากังวลมากนัก โดยเราคาด NPL ในปี 65 อยู่ที่ 3.49% เพิ่มขึ้นจากปี 64 ที่ 3.11% ประกอบกับกลุ่มธนาคารมีการตั้งสำรองเผื่อมาสูงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมี Coverage ratio เฉลี่ยสูงถึง 177%
ขณะที่ KTBST ระบุว่าจากข้อมูลสินเชื่อเดือน ก.พ.65 ของกลุ่มแบงก์เพิ่มขึ้น +0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และเช่าซื้อฟื้นตัว ภาพรวมสินเชื่อทั้ง 8 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเช่าซื้อที่กลับมาฟื้นตัวได้ดี โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุด MoM คือ KKP เพิ่มขึ้น +1.8% MoM จากสินเชื่อเช่าซื้อ และ KBANK เพิ่มขึ้น +0.9% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก
ส่วนธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากสุดเมื่อเทียบ MoM คือ TTB ลดลง -0.2% จากสินเชื่อ SME เป็นหลัก ส่วนภาพรวมของเงินฝากในเดือน ก.พ. 2022 อยู่ที่ระดับ 12.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.0% MoM เพราะสภาพคล่องที่ยังคงอยู่ในระดับสูง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท)
Implication มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร เรามีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน ก.พ.65 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น MoM จากการกลับมาฟื้นตัวในส่วนของสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเช่าซื้อ ขณะที่เราคาดว่าภาพรวมของสินเชื่อในเดือน มี.ค.65 จะเห็นการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหมดช่วงของการชำระคืนหนี้ของรายใหญ่ ประกอบกับมีงาน Motor Show ซึ่งจะช่วยให้สินเชื่อเช่าซื้อปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ รวมถึงยังมีโครงการช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ในโครงการ Debt relief ซึ่งจะไม่มีการคืนหนี้จำนวนมากเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป
อย่างไรก็ดี เราให้ความสำคัญกับประเด็นของ NPL มากกว่าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราเชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะ ธปท.มีการต่อมาตรการไปถึง 31 ธ.ค.66 ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KBANK และ SCB เป็น Top pick ขณะที่ KKP ได้ sentiment เชิงบวกจากสินเชื่อที่โตเด่นในเดือน ก.พ.65
ยังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะ valuation ยังถูก เทรดที่ระดับเพียง 0.72x PBV (-1.5SD below 10-yr average PBV) ด้าน NPL แม้ว่าจะยังอยู่ในขาขึ้น แต่เป็นการทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะยังมีมาตรการช่วยเหลือต่อถึงสิ้นปี 66
เลือก KBANK เป็น Top pick 172.00 บาท อิง 65 PBV เดิมที่ 0.80x (-1.25SD below 10-yr average PBV) เพราะเป็นธนาคารที่เน้น digital รายแรกและยังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำด้าน digital ต่อเนื่องซึ่งจะเห็นความชัดเจนได้ตั้งแต่ปี 65 เป็นต้นไป และสินเชื่อภาคการท่องเที่ยว (สัดส่วนราว 20% ของสินเชื่อรวม) ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ซึ่งจะทยอยเห็นการฟื้นตัวได้ดีใน H2/65
และยังชอบ SCB (ซื้อ/เป้า 150.00 บาท) เพราะการเปลี่ยนธุรกิจใหม่เป็น Holding company จะทำให้ทำธุรกิจได้หลากหลายได้มากขึ้น และมี upside จากการ spin-off บริษัทลูกๆในอนาคตได้ ขณะที่แนวโน้มของการตั้งสารองฯที่เพียงพอแล้วและ NPL ไม่น่ากลัวเท่าคู่แข่ง
ขณะที่ KKP (ซื้อ/เป้า 77.00 บาท) จะได้ sentiment เชิงบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้อย่างโดดเด่นในเดือน ก.พ.65
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 มี.ค. 65)
Tags: KBANK, KTB, SCB, TTB, หุ้นกลุ่มธนาคาร, หุ้นไทย, อันดับเครดิต, เคทีบีเอสที