โบรกเกอร์ต่างเชียร์”ซื้อ”หุ้นบมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) เล็งผลงานไตรมาส 2/64 เร่งตัวขึ้นจากอุปสงค์ในกลุ่มสื่อสารทั้ง Smartphone, Adapter และกลุ่มยานยนต์ ทำให้อัตรากำลังผลิตเฉลี่ยสูงถึง 80-90% และกำลังผลิตโรงงาน IC อยุธยาจะเริ่มเดินเครื่องช่วงกลางปี รวมถึงเงินบาทอ่อนค่าจะช่วยเรื่องมาร์จิ้นให้ดีขึ้นด้วย
แม้ระยะสั้นประเด็นวัตถุดิบ (Chip) ขาดตลาด อาจกระทบบ้างในไตรมาส 3/64 แต่จะจำกัด เนื่องจากลูกค้าได้เตรียมแผนไว้แล้ว ขณะบริษัทมีฐานลูกค้าในหลายอุตสาหกรรมจะช่วยลดความเสี่ยงจากการหยุดผลิตลง หนุนแนวโน้มรักษาระดับกำไรทรงตัวในระดับสูงตลอดช่วงไตรมาส 3/4 ปี 64
นอกจากนี้ HANA ยังมองหาโอกาสเติบโตใหม่ ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน Power management เป็นสินค้าที่ความต้องการสำหรับแนวโน้มในอนาคตทั้ง EV , สินค้า 5G โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาในประเทศเกาหลีก่อนเริ่มจำหน่ายในไตรมาส 3-4 ปี 64
HANA เป็นหุ้นที่ไม่มีปัญหาฐานะการเงิน จากที่ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องหนี้ เรียกได้ว่าแทบไม่มีหนี้เลย ทำให้เป็นหุ้นที่ปลอดภัยในการลงทุน อีกทั้งเป็นหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัยในการลงทุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศอีกด้วย จากที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ไม่เกี่ยวข้องกับกำลังซื้อในประเทศ
พร้อมคาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ ไว้ในกรอบ 2,214-2,629 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 1,913 ล้านบาท อีกทั้งมีปัจจัยบวกในอนาคต คือ การเร่งปรับปรุงโรงงานจีนรับกระแส “Made in 2025” ที่จีนจะทำ tech center ของจีนเองและพึ่งพาสหรัฐน้อยลง
ราคาปิดเช้าอยู่ที่ 63.50 บาท ลดลง 1.50 บาท (-2.31%) สวนตลาด SET บวก 0.60%
โบรกเกอร์ | คำแนะนำ | ราคาเป้าหมาย (บาท/หุ้น) |
---|---|---|
โนมูระ พัฒนสิน | ซื้อ | 72.00 |
เคทีบีเอสที | ซื้อ | 68.00 |
เมย์แบงก์ กิมเอ็ง | ซื้อ | 68.00 |
ดีบีเอส วิคเคอร์ส | ซื้อ | 65.50 |
ยูโอบี เคย์เฮียน | ซื้อ | 64.00 |
เอเชีย เวลท์ | ซื้อ | 64.00 |
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนวโน้มผลดำเนินงานงวดไตรมาส 2/64 คาดว่าจะออกมาดีขึ้น และดีต่อเนื่องไปในครึ่งปีหลัง (H2/64) ซึ่งราคาหุ้น HANA ก็ได้ปรับตัวขึ้นมาตอบรับบ้างแล้ว จนขณะนี้ราคาขึ้นมาเกินราคาเป้าหมายที่ให้ไว้ที่ 64 บาท/หุ้น ถือว่ามีการเล่นเก็งกำไรกันไปพอควร จากนี้ไปก็จะต้องติดตามดูว่าผลประกอบการจะออกมาอย่างไร หากออกมาดีก็มีแนวโน้มที่จะปรับประมาณการขึ้นได้ในอนาคต
อย่างไรก็ดี HANA เป็นหุ้นที่ไม่มีปัญหาฐานะการเงิน จากที่ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องหนี้ เรียกได้ว่าแทบไม่มีหนี้เลย ทำให้เป็นหุ้นที่ปลอดภัยในการลงทุน อีกทั้งเป็นหุ้นในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปลอดภัยในการลงทุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในประเทศอีกด้วย จากที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ไม่เกี่ยวข้องกับกำลังซื้อในประเทศ
นอกจากนี้ HANA ยังมีแผนที่จะขยายธุรกิจไป Power management เป็นสินค้าที่ความต้องการสำหรับแนวโน้มในอนาคตอย่าง EV เป็นต้น พร้อมคาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ (2564) ไว้ที่ 2,629 ล้านบาท เติบโตจากปีที่แล้ว (2563) ที่มีกำไรสุทธิ 1,913 ล้านบาท
ส่วนบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์ฯคาดกำไรจะเร่งขึ้น QoQ,YoY ในไตรมาส 2/64 มาจากอุปสงค์ในกลุ่มสื่อสารทั้ง Smartphone, Adapter และกลุ่มยานยนต์ ซึ่งสองอุตสาหกรรมข้างต้น คิดเป็น 40-45% ของรายได้บริษัท ทำให้อัตรากำลังผลิตเฉลี่ยสูงถึง 80-90% และกำลังผลิตโรงงาน IC อยุธยา +25-30%YoY (+10% ของรายได้รวม) เริ่มเดินเครื่องช่วงกลางปี รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่า 31.3 บ./เหรียญ+3%QTD
ระยะสั้นประเด็นวัตถุดิบ(Chip)ขาดตลาด อาจกระทบบ้างในไตรมาส 3/64 แต่จะจำกัดเนื่องจากลูกค้าได้เตรียมแผนไว้แล้ว ขณะบริษัทมีฐานลูกค้าในหลายอุตสาหกรรมจะช่วยลดความเสี่ยงจากการหยุดผลิตลง หนุนแนวโน้มรักษาระดับกำไรทรงตัวในระดับสูงตลอดช่วงไตรมาส 3/4 ปี 64
ไปสู่รูปแบบ ODM (Original Design Manufacturer) ที่มีแบรนด์ของตนเองทำให้มี Upside risk ต่อประมาณการในแง่ยอดขายของสินค้า และอัตรากำไรขั้นต้นตาม product mix สินค้า High-end สูงขึ้น
พร้อมคาดการณ์กำไรปี 2564 ที่ 2,214 ล้านบาท +16%YoY ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต
ด้านบล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า คาดงบไตรมาส 2/64 ที่ 689 ล้านบาท +129%q-q เด่นมาก เพราะคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มทั้งรถยนต์ เทเลคอม อุตสาหกรรม ทำให้ HANA ใช้กำลังการผลิตเกือบเต็มในโรงงานอยุธยา-ลำพูน-สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะช่วยเรื่องมาร์จิ้นให้ดีขึ้นด้วย ส่วนข่าว chip shortage ลูกค้าทุกกลุ่มยังสั่งซื้อตามปกติ แต่เรื่องวัตถุดิบผลิตเซมิคอนดักเตอร์คือลวดทองแดงเริ่มมีระยะเวลาในการสั่งซื้อนานขึ้น อาจทำให้สายการผลิตเซมิฯของ HANA ใช้กำลังการผลิตได้ไม่เต็มที่ในไตรมาส 3/64
อย่างไรก็ตามยังคาดกำไรสุทธิโต 22% ในปี 64 ที่ 2,325 ล้านบาท ปัจจัยบวกในอนาคตคือการเร่งปรับปรุงโรงงานจีนรับกระแส “Made in 2025” ที่จีนจะทำ tech center ของจีนเองและพึ่งพาสหรัฐน้อยลง ด้วยฐานะทางการเงินของ HANA ที่มีเงินสดถึง 9,000 ล้านบาท และไม่มีหนี้ทำให้ HANA เร่งลงทุนในอยุธยาและจีนได้ง่าย นอกจากนี้ HANA กำลังพัฒนาสินค้าใหม่คือ Power management Semiconductor หรือ SiC ซึ่งมาร์จิ้นสูง ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น EV car น่าจะเห็นรายได้ในปีหน้า
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (07 มิ.ย. 64)
Tags: Consensus, HANA, กิจพณ ไพรไพศาลกิจ, ดีบีเอส วิคเคอร์ส, ยูโอบี เคย์เฮียน, หุ้นไทย, ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส, เคทีบีเอสที, เมย์แบงก์ กิมเอ็ง, เอเชีย เวลท์, โนมูระ พัฒนสิน