เนื่องในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (Center for Aging Society Research – CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ผู้สูงวัยไทย เผชิญภัยกับโรคระบาดโควิด-19 อย่างไร?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12 และ 18-20 มีนาคม 2564 จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเผชิญภัยกับโรคระบาดโควิด-19 ของผู้สูงวัยไทย
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงเรื่องที่รับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 96.50 ระบุว่า สวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า/ถุงมือ รองลงมา ร้อยละ 79.98 ระบุว่า ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์/น้ำยาฆ่าเชื้อ ร้อยละ 53.21 ระบุว่า เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ร้อยละ 46.50 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการอยู่สถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก ร้อยละ 21.92 ระบุว่า เลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็นให้ออกนอกบ้านน้อยที่สุด ในระยะเวลาสั้นที่สุด ร้อยละ 13.70 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และร้อยละ 10.12 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการจับมือ
เมื่อถามถึงการนัดหมายและการเลื่อน/ยกเลิกพบแพทย์ในการระบาดในรอบที่ 1 (มี.ค.-พ.ค. 63) ในเรื่องต่อไปนี้
- การเข้าพบแพทย์แบบคนไข้ภายนอก พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 76.03 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 23.97 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 72.70 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 27.30 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- ทำฟัน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 93.46 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 6.54 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 75.58 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 24.42 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- การเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 98.78 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 1.22 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 56.25 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 43.75 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย
- การผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.54 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 66.67 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 33.33 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- การขอรับยาตามแพทย์สั่ง พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 70.32 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 29.68 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 78.46 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 21.54 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- การเข้าพบแพทย์แบบคนไข้ภายนอก พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 75.19 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 24.81 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 81.29 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 18.71 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- ทำฟัน พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 93.23 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 6.77 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 73.03 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 26.97 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
- การเข้ารับการผ่าตัดที่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.24 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.76 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 100.00 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย
- การผ่าตัดที่ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 99.54 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 0.46 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 50.00 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และเลื่อนการนัดหมาย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- การขอรับยาตามแพทย์สั่ง พบว่า ผู้สูงวัย ร้อยละ 68.49 ระบุว่า ไม่ได้นัดหมาย และร้อยละ 31.51 ระบุว่า นัดหมาย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า นัดหมาย พบว่า ร้อยละ 83.33 ระบุว่า ไม่เลื่อนการนัดหมาย และร้อยละ 16.67 ระบุว่า เลื่อนการนัดหมาย
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของผู้สูงวัยไทยต่อมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดของรัฐ พบว่า ผู้สูงวัย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.04 ระบุว่า เหมาะสมแล้ว รองลงมา ร้อยละ 14.23 ระบุว่า ยังเข้มงวดไม่เพียงพอ ร้อยละ 3.27 ระบุว่า เข้มงวดมากเกินไป และ ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (11 เม.ย. 64)
Tags: COVID-19, ถุงมือ, นิด้า, นิด้าโพล, ผลสำรวจ, ผู้สูงอายุ, ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, หน้ากากอนามัย, โควิด-19