นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับ บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท 1 ใน 7 อันดับแรกของไทยที่ได้รับในอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) นำเข้าเมล็ดกัญชง และมี supply chain ที่เป็นพันธมิตรครบวงจร ตั้งแต่ระดับผู้ผลิตนำออกสู่ตลาดอุตสาหกรรมรายใหญ่ รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ความรู้ในการปลูกพืชกัญชงในระดับอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายเพาะปลูกจำนวนมาก
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ บริษัทฯ จะทำหน้าที่พัฒนา และก่อสร้างโรงเรือนในลักษณะ Smart Farm โดยมีระบบ AI เข้ามาช่วยควบคุมให้กับกลุ่มเครือข่ายเพาะปลูกของบริษัท แพล้นโทโลยี โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีความต้องการใช้โรงเรือนไม่ต่ำกว่า 4,000 – 5,000 ไร่
“บริษัทฯ หวังว่า ความร่วมมือจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจพัฒนา และก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่เติบโตได้ต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีโครงการความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆต่อไป ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจว่าจะช่วยสร้างรายได้เพิ่ม และสนับสนุนการเติบโตในอนาคตได้เป็นอย่างดี”
นายศุกภิจ กล่าวต่อว่า การก่อสร้างโรงเรือนแบบ Smart Farm เป็นการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน เพื่อให้ทันต่อความต้องการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของ ZIGA รวมถึงวัตถุดิบหลักอย่างเหล็กกัลวาไนซ์ของทาง ZIGA ซึ่งถือเป็นเหล็กที่เหมาะกับการสร้างเป็นโรงเรือนให้กับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ สามารถสร้างโรงเรือนได้อย่างรวดเร็วและมีความคุ้มค่าในระยะยาว
ด้าน นายชาติประชา สอนกลิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือร่วมกับ ZIGA เนื่องจาก ZIGAเป็นผู้ผลิตโรงเรือนจากเหล็กกัลวาไนซ์ผนวกกับเทคโนโลยี ระบบการปลูกที่ใช้ AI เพื่อควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม ทำให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพป้อนสู่อุตสาหกรรม
สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือของบริษัท แพล้นโทโลยี จะมีการทำบันทึกข้อตกลงกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิต(สกัด)กัญชง อาทิเช่น บมจ. ดีโอดี ไบโอเทค (DOD) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำเร็จ เพื่อนำไปสู่ภาคการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้นในลำดับต่อไป
นางวราลักษณ์ งามจิตรเจริญ เปิดเผยถึงกลยุทธ์ดำเนินงานในปี 64 ว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ 1,200 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีก่อนที่มีรายได้ 995.68 ล้านบาท โดยเน้นการขยายฐานลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
บริษัทจะขยายลูกค้ารูปแบบ B2C จากเดิมที่มีตลาดหลักในกลุ่ม B2B ซึ่งจะเป็นการขยายไปยังกลุ่มนอกเหนือกลุ่มผู้รับเหมา ด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น ทั้งท่อเหล็ก ท่อร้อยสายไฟ และโรงเรือนสำหรับปลูกกัญชงขนาดเล็กไม่เกิน 6 ต้น ที่ปัจจุบันได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากลูกค้า
พร้อมกันนั้น บริษัทจะขยายธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น โดยเน้นการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น โดยปีนี้มีวางแผนจะมีสาขาให้ครบ 60 สาขา จากปัจจุบันเปิดไปแล้ว 4 สาขา
นอกจากนั้น บริษัทก็จะยังคงเน้นงานโครงการขนาดใหญ่มากขึ้นในส่วนของสินค้ากลุ่มท่อร้อยสายไฟ โดยปัจจุบันมีงานโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ทั้งในกลุ่มโรงแรม อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า อาทิ โครงการ One bangkok เป็นต้น
“ในปีนี้กลยุทธ์ของเราจะเน้นการเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น ด้วยการเพิ่มสินค้าใหม่ ๆ การบริหารจัดการต้นทุนที่ดีรวมไปถึงการเจาะกลุ่มลูกค้าแบบ B2C มากขึ้น ซึ่งในกลุ่มนี้มี Margin ในการจำหน่ายสินค้าที่สูงกว่า”
นางวราลักษณ์ กล่าว
ขณะที่ล่าสุด นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานกรรมการบริหาร ZIGA เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับ บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท 1 ใน 7 อันดับแรกของไทยที่ได้รับในอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) นำเข้าเมล็ดกัญชง และมี supply chain ที่เป็นพันธมิตรครบวงจร ตั้งแต่ระดับผู้ผลิตนำออกสู่ตลาดอุตสาหกรรมรายใหญ่ รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้ความรู้ในการปลูกพืชกัญชงในระดับอุตสาหกรรม และมีเครือข่ายเพาะปลูกจำนวนมาก
ความร่วมมือในครั้งนี้ บริษัทฯ จะทำหน้าที่พัฒนา และก่อสร้างโรงเรือนในลักษณะ Smart Farm โดยมีระบบ AI เข้ามาช่วยควบคุมให้กับกลุ่มเครือข่ายเพาะปลูกของบริษัท แพล้นโทโลยี โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีความต้องการใช้โรงเรือนไม่ต่ำกว่า 4,000 – 5,000 ไร่
“บริษัทฯ หวังว่า ความร่วมมือจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจพัฒนา และก่อสร้างโรงเรือน ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่เติบโตได้ต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีโครงการความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการอื่นๆต่อไป ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจว่าจะช่วยสร้างรายได้เพิ่ม และสนับสนุนการเติบโตในอนาคตได้เป็นอย่างดี”
นายศุกภิจ กล่าวต่อว่า การก่อสร้างโรงเรือนแบบ Smart Farm เป็นการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลาไม่นาน เพื่อให้ทันต่อความต้องการ โดยใช้ความเชี่ยวชาญของ ZIGA รวมถึงวัตถุดิบหลักอย่างเหล็กกัลวาไนซ์ของทาง ZIGA ซึ่งถือเป็นเหล็กที่เหมาะกับการสร้างเป็นโรงเรือนให้กับพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ สามารถสร้างโรงเรือนได้อย่างรวดเร็วและมีความคุ้มค่าในระยะยาว
ขณะที่นางวราลักษณ์ กล่าวเสริมว่า บริษัทจะก่อสร้างโรงเรือนปลูกพืชกัญชาและกัญชงร่วมกับ บริษัท ทีเอสซีจี กรุ๊ป จำกัด ที่มีการตั้งเป้าหมายการปลูกกัญชงจำนวน 4,000 ไร่และ บริษัท แพล้นโทโลยี จำกัด ที่ตั้งเป้าปลูกกัญชง 13,000 ไร่ โดยบริษัทคาดว่าจะเริ่มติดตั้งและส่งมอบโรงเรือนในช่วงไตรมาส 2/64 นี้ แต่ก็เชื่อว่าการติดตั้งและส่งมอบอาจจะไม่เร็วมากนัก เนื่องจากต้องมีการขออนุญาตในการปลูกและขบวนการขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 มี.ค. 64)
Tags: MOU, กัญชง, ชาติประชา สอนกลิ่น, ซิก้า อินโนเวชั่น, วราลักษณ์ งามจิตรเจริญ, ศุภกิจ งามจิตรเจริญ, แพล้นโทโลยี