นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ตามมติที่ประชุมคณะ กรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้ปรับเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดให้เร็วขึ้นในปี 64-73
เบื้องต้น กบง.พิจารณา 10 ปีแรก ซึ่งจะบรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ (PDP 2022) ให้เพิ่มสัดส่วนพลังงาน สะอาดในระบบ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ 3 การไฟฟ้า ไปดูศักยภาพสายส่งเพื่อรองรับ พลังงานสะอาดที่จะเข้าระบบเพิ่มขึ้น
เบื้องต้นจะเป็นการปรับลดสัดส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติลง 700 เมกะวัตต์ และจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน สะอาดเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,000 เมกะวัตต์
โดยจำแนกเป็นประเภทเชื้อเพลิง ดังนี้
โรงไฟฟ้าใหม่
หน่วย:เมกะวัตต์
เชื้อเพลิงฟอสซิล | PDP2018 Rev.1(A) | การปรับปรุงใหม่ | ส่วนต่าง (B-A) |
โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ | 5,550 | 4,850 | -700 |
โรงไฟฟ้าถ่านหิน (ลิกไนต์) | 600 | 600 | 0 |
หน่วย:เมกะวัตต์
พลังงานสะอาด | PDP2018 Rev.1(A) | การปรับปรุงใหม่ | ส่วนต่าง (B-A) |
รับซื้อไฟฟ้าจากพลังน้ำในต่างประเทศ | 1,400 | 2,766 | 1,366 |
พลังงานแสงอาทิตย์ | 5,194 | 4,455 | -739 |
พลังงานลม | 270 | 1,500 | 1,230 |
ชีวมวล | 1,120 | 485 | -635 |
ก๊าซชีวภาพ | 783 | 335 | -448 |
ขยะ | 400 | 600 | 200 |
พลังน้ำขนาดเล็ก | 26 | 52 | 26 |
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนพลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้นหลังปรับแผน 10 ปี จะเพิ่มเป็น 26% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด จาก ปัจจุบันอยู่ที่ 23% ส่วนกรณีที่มองว่าพลังงานสะอาดจะส่งผลกระทบต่อค่าเอฟที จากปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 30 สตางค์ต่อหน่วยนั้น ซึ่งมองว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดลลดลงมาก คงไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟมากนัก
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (24 พ.ย. 64)
Tags: การผลิตไฟฟ้า, พลังงานสะอาด, พลังงานไฟฟ้า, วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู, สนพ., เชื้อเพลิงฟอสซิล, โรงไฟฟ้า