*รพ.กรุงเทพ
รายชื่อโรงพยาบาล | จำนวนวัคซีนล็อตแรก | ราคา | กำหนดเริ่มฉีด | ปริมาณฉีด |
รพ.กรุงเทพ | รอประกาศพร้อมการจองคิว | 3,330/2 เข็ม | 9 พ.ย. 64 | 50 ไมโครกรัม กรณีแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม |
100 ไมโครกรัมกรณีซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม | ||||
รพ.วิมุต | 18,000 | 1,650/เข็ม | 9-28 พ.ย.64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.รามคำแหง | 5,500-5,600 | 1,650/เข็ม | 9-30 พ.ย.64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.วิภาวดี | 26,000 | 3,300/2 เข็ม | 9 พ.ย.64-31 มี.ค.65 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.เกษมราษฎร์ | 17,900 | 1,650/เข็ม | 9 พ.ย.64-30 เม.ย.65 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.ธนบุรี | 72,000 | 1,650 บาท/เข็ม | 11-28 พ.ย.64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.พริ้นซ์สุวรรณภูมิ | 7,280 | 1,550/เข็ม | 15-30 พ.ย.64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.บำรุงราษฎร์ | N/A | 1,650/เข็ม | 15-21 พ.ย. 64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.พระราม9 | 3,900 | 3,300/2 เข็ม | 15 พ.ย.64 | 100 ไมโครกรัม/โดส |
รพ.จุฬาภรณ์ | N/A | 555/เข็ม(50 ไมโครกรัม) | 25 มี.ค.65 | 50 ไมโครกรัม/โดส |
100 ไมโครกรัม(ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง) |
ทางโรงพยาบาลจะเริ่มทำการนัดเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนเมื่อได้รับการส่งมอบวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผ่านช่องทางเว็บไซ ต์ และ My B+ Application
*รพ.วิมุต
สามารถโอนสิทธิวัคซีนโมเดอร์นาให้ผู้อื่นได้
*รพ.รามคำแหง
ขอให้เลือกวัน และเวลาที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 6 พ.ย.64 โดยจะได้รับ SMS พร้อมลิ้งค์ให้เข้าทำ การยืนยัน และทำใบยินยอมรับการฉีดวัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันก่อนวันฉีดวัคซีน ทั้งนี้ การโอนสิทธิสามารถโอนให้ได้ทั้งคนไทยและชาว ต่างชาติ และไม่จำเป็นต้องเคยมีประวัติที่โรงพยาบาล
*รพ.วิภาวดี
การเปลี่ยนตัวผู้ฉีด จะต้องเปลี่ยนในระบบโดยผู้ที่ทำการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถทำการเปลี่ยนหน้างานได้
*รพ.เกษมราษฎร์
สามารถโอนสิทธิวัคซีนโมเดอร์นาให้ผู้อื่นได้
*รพ.ธนบุรี
สามารถโอนสิทธิวัคซีนโมเดอร์นาให้ผู้อื่นได้ในขั้นตอนนัดหมายการฉีด กรณีต้องการรับโอนสิทธิ์ 2 เข็ม โดยรับสิทธิ์มาแยกกัน (1 เข็มจาก 1 คน และอีก 1 เข็มจากอีก 1 คน) จะต้องรอรับสิทธิ์การโอนจากทั้ง 2 เข็มให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถเข้าทำนัด หมายได้ และจะต้องกดเลือกรับสิทธิ์ 2 เข็ม พร้อมกรอกรหัสวัคซีนทั้ง 2 เข็มพร้อมกัน ทั้งนี้ หากทำการนัดหมายเข็มที่ 1 ไปแล้ว จะไม่ สามารถนัดเพิ่มในเข็ม 2 ได้อีก
*เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์
โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ยังคงแนวทางการให้บริการตามข้อบ่งชี้ในเอกสารกำกับยา mRNA 100 ไมโครกรัม/โดส หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้มีการฉีดกระตุ้นภูมิ แบบครึ่งโดส (mRNA 50 ไมโครกรัม) ทางโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ก็พร้อมเปิดการจองและชำระเงินค่าวัคซีนแบบครึ่งโดสโดยทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นรวมทั้งข้อจำกัดด้านสุขภาพของผู้ที่จะเข้ารับวัคซีนด้วยหรือไม่
*รพ.บำรุงราษฎร์
โรงพยาบาลจะยึดแนวปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 64 ที่มีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสามชนิด mRNA เต็มโดส คือ 100 ไมโครกรัม ทั้งนี้ แม้จะมีงานวิจัยระบุว่าการฉีดวัคซีนกระตุ้นด้วยเทคโนโลยี MRNA ครึ่งโดส หรือ 50 ไมโครกรัม อาจเพียงพอในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ภูมิคุ้มกันนั้นจะมีระยะเวลาอยู่ได้นานเท่าใด
*ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ระบุข้อกำหนดสำหรับองค์กรนิติบุคคลที่จองวัคซีนโมเดอร์นา 50 ไมโครกรัม/โดส ได้ 20 คน หรือ 10 คนต่อรอบ สำหรับ เข็มกระตุ้นโมเดอร์นา 100 ไมโครกรัม/โดส ในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น
ส่วนข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน แนะนำใช้เป็นเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปี 65 (โดยฉีดเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ 4) โดยฉีดห่าง จากวัคซีนเข็มล่าสุด 3-6 เดือน (แล้วแต่ชนิดวัคซีนที่ได้รับก่อนหน้านั้น) โดยกำหนดเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 65 เป็นต้นไป
สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา ตามข้อสั่งการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ครั้งที่ 368 (ตาม มติการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 64) การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หากฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 เป็นวัคซีนซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม สามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนโมเดอร์นา ในระยะเวลาตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปหลัง เข็ม 2 ทั้งนี้ ให้วัคซีนตามคำแนะนำในเอกสารกำกับยาจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีน
แต่หากฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 เป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า สามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนโมเดอร์นา ระยะเวลา หลัง 6 เดือนหลังเข็ม 2 โดยให้วัคซีนเว้นระยะห่างหลังเข็ม 2 เช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์ เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิด mRNA เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสามารถฉีดวัคซีนก่อน 6 เดือน หลังเข็ม 2 ได้ โดยใช้ระยะห่าง และขนาดวัคซีนภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์
ผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโมเดอร์นา อาการที่พบได้บ่อย คือ
- ปวดหรือบวมบริเวณที่ฉีด สามารถประคบเย็นได้
- หนาวสั่น เป็นไข้
- อ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ ทั้งนี้ผลข้างเคียงของวัคซีนโมเดอร์นา อาจเริ่มแสดงออกภายใน 1 – 2 วันหลังจากรับวัคซีน โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นใน 2 – 3 วัน สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการปวดหรือมีไข้ได้หากท่านไม่แพ้ยาดังกล่าว มีรายงานการเกิดอาการแพ้รุนแรงเฉียบ พลัน (Anaphylaxis) หัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังได้รับวัคซีนนี้ แต่พบได้น้อย
ด้าน นพ.ภุชงค์ ผดุงสุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แซดพี เทอราพิวติกส์ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาว่า ไม่มีความแตกต่างจากการเข้ารับวัคซีน ชนิดอื่นๆ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความวิตกกังวล รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ต้องงดอาหาร และหากรับประทานยาประจำ ก็ สามารถรับประทานอย่างต่อเนื่องจนวันเข้ารับวัคซีนได้ อย่างไรก็ดี ต้องบอกเจ้าหน้าที่บริการหน่วยวัคซีนเกี่ยวกับโรคประจำตัว และยาที่ กำลังรับประทานอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาลดความดัน เบาหวาน เป็นต้น
ทั้งนี้ก่อนการรับวัคซีนโมเดอร์นาไม่จำเป็นตรวจภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการตรวจภูมิคุ้มกันยังไม่ใช่การตรวจที่เป็นที่ยอมรับให้ใช้ทั่ว ไปในทางปฎิบัติ แต่การตรวจภูมิคุ้มกันนั้น มักจะใช้ในกรณีการวิจัยเท่านั้น เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการกระตุ้นด้วยวัคซีน
ในส่วนของอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา มีความใกล้เคียงกับวัคซีนชนิด mRNA เช่น ปวดต้นแขนบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามร่างกาย กล้ามเนื้อ ข้อ และอาจจะมีอาการคลื่นไส้ หรือเป็นไข้ได้ อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดนี้ เป็นเพียงอาการเล็กน้อย ถึงปานกลาง สามารถใช้การรักษาแบบประคับประคองได้ด้วยยาบรรเทาตามอาการ และส่วนมากจะหายไปในระยะเวลา 2-3 วันหลังฉีด วัคซีน
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 พ.ย. 64)
Tags: Moderna, ซิลลิค ฟาร์มา, ภุชงค์ ผดุงสุทธิ์, วัคซีน, วัคซีนต้านโควิด-19, วัคซีนทางเลือก, โมเดอร์นา