สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันพลาสติก จัดงานสัมมนา เรื่อง BCG MODEL จะไปในทิศทางใด จะพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพได้อย่างไร แบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00-12.00 น. โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ทั้งนี้ Bio-Circular-Green Economy model หรือ BCG model เป็นรูปแบบทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างสรรค์สินค้าที่มีมูลค่าสูง โดยคำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันพลาสติกได้เล็งเห็นถึงจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมมีการเพาะปลูกอ้อย ทำให้มีผลผลิตต่อไร่ที่สูง สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการผลักดันอุตสาหกรรมชีวภาพ นำไปสู่การยกระดับผู้ประกอบการและเกษตรกร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อยและน้ำตาลทราย จึงได้ดำเนินโครงการการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ (BIO ECONOMY NON-FOOD) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพิ่มมูลค่าอ้อยและน้ำตาล
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
3. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ การนำอ้อยหรือผลผลิตจากอ้อยมาเป็นวัตถุดิบนำร่องของอุตสาหกรรมชีวภาพของประเทศไทย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบดังกล่าว ให้สอดคล้องกับการผลักดันอุตสาหกรรมด้านชีวภาพตามนโยบายของรัฐบาลนั้น เพื่อวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความมั่นคงและก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมชีวภาพของภูมิภาคในอนาคต
ผู้สนใจสามารถสมัครเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ BCG MODEL จะไปในทิศทางใด จะพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพได้อย่างไร ได้ตามรายละเอียด ดังนี้
- B : BIO ECONOMY
- C : CIRCULAR ECONOMY
- G : GREEN ECONOMY
- เพิ่มมูลค่าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 – 12.00 น. ผ่านระบบ ZOOM
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (25 ต.ค. 64)
Tags: กระทรวงอุตสาหกรรม, น้ำตาล, สถาบันพลาสติก, สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, อ้อย