กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ในช่วงวันที่ 23-28 ก.ย. 64 เกิดอุทกภัยใน 30 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม รวม 145 อำเภอ 584 ตำบล 2,401 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 71,093 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 6 ราย (ลพบุรี 5 ราย และเพชรบูรณ์ 1 ราย) สูญหาย 2 ราย (ลพบุรี 1 ราย และเพชรบูรณ์ 1 ราย)
ขณะนี้ สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 7 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง บุรีรัมย์ นครปฐม ยโสธร สุรินทร์) ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือประชาชนต่อไป โดยยังคงมีสถานการณ์อยู่ 23 จังหวัด ดังนี้
1. ตาก เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตาก อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภออุ้มผาง ปัจจุบันยังคงมีน้ำในพื้นที่ อ.เมืองตาก ระดับน้ำลดลง
2. สุโขทัย ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสำโรง อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมืองสุโขทัย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
3. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอวังทอง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
4. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอบึงสามพัน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
5. พิจิตร เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบึงนาราง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพทะเล อำเภอสามง่าม และอำเภอดงเจริญ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรระดับน้ำทรงตัว
6. กำแพงเพชร เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่อำเภอปางศิลาทอง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
7. เลย เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูกระดึง และอำเภอเมืองเลย ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
8. ขอนแก่น เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี และอำเภอแวงน้อย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำทรงตัว
9. ชัยภูมิ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอเนินสง่า อำเภอบ้านเขว้า อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
10. นครราชสีมา เกิดฝนตกหนักน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอสูงเนิน อำเภอโนนสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอพิมาย ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
11. อุบลราชธานี เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
12. สระแก้ว เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ อำเภอตาพระยา และอำเภอโคกสูง ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอโคกสูง ในพื้นที่ลุ่มต่ำ
13. จันทบุรี เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนายายอาม อำเภอเขาคิฌกูฎ อำเภอขลุง อำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอเมืองจันทบุรี ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
14. นครสวรรค์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว อำเภอหนองบัว อำเภอแม่วงก์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง อำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอโกรกพระ ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำทรงตัว
15. อุทัยธานี เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสว่างอารมณ์ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ และอำเภอทับทัน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
16. ชัยนาท เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ อำเภอเนินขาม และอำเภอหันคา ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
17. ลพบุรี ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอชัยบาดาล อำเภอลำสนธิ อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกเจริญ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอพัฒนานิคม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
18. สุพรรณบุรี เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอหนองหญ้าไซร อำเภอบางปลาม้า อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภอสามชุก อำเภอสองพี่น้อง และอำเภออู่ทอง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
19. สิงห์บุรี เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอค่ายบางระจัน ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
20. อ่างทอง เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองอ่างทอง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
21. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำระดับน้ำเพิ่มขึ้น
22. ศรีสะเกษ เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขุขันธ์ อำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอไพรบึง ปัจจุบันระดับน้ำทรงตัว
23. ปราจีนบุรี เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอเมืองปราจีนบุรี ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 ก.ย. 64)
Tags: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, น้ำท่วม, ปภ., พายุเตี้ยนหมู่, อุทกภัย