เงินบาทเปิด 33.65 อ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค ให้กรอบวันนี้ 33.55-33.70

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.65 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.53 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ เนื่องจากบอลด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังคงปรับ ตัวสูงขึ้น จากแนวโน้มที่ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้

“บาทเปิดตลาดอ่อนค่าจากเย็นวานนี้ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก ระหว่างวันเงินคาดว่าบาทมีแนวโน้ม อ่อนค่าตลอดทั้งวัน”

นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.55 – 33.70 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้อง ติดตาม คือ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงต่อสภาครองเกรส และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จาก Conference Board ของสหรัฐฯ

THAI BAHT FIX 3M (27 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.34917% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.31460%

ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.04 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.94 เยน/ดอลลาร์

– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1685 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1696 ดอลลาร์/ยูโร

– อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.432 บาท/ดอลลาร์

– ธปท.รับวิกฤตโควิด-19 หนักหน่วง ยันมีมาตรการเพิ่มเติม จูงใจให้ทุกฝ่ายสามารถปรับตัว หวังจบเรื่องคนไทยเจ็บน้อย สุด พร้อมต่อยาสูตร “จ่ายเท่าที่ไหว” กู้วิกฤตคนเป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ด้าน ส.อ.ท.นำสมาชิกฝ่าวิกฤต บริการ 360 องศา

– “พาณิชย์” โอดล็อกดาวน์กระทบยอดตั้งบริษัทใหม่ ส.ค. 2564 ทรุด เผยธุรกิจสร้างอาคาร-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์-ธุรกิจ ให้คำปรึกษา แชมป์เลิกกิจการ ลุ้นรัฐบาลคลายล็อกช่วยหนุน เชื่อมั่น “กสิกร” ประเมินปีนี้ส่งออกโตแกร่ง 12.4% ฟันธงเปิดเส้นทางรถไฟ เร็วสูงเชื่อมจีน-สปป.ลาว หนุนการค้าชายแดนไทยโตพรวด

– ฟิทช์ เรตติ้งส์ ชี้ “SCB” ยกเครื่องโครงสร้างธุรกิจ สอดคล้องแนวโน้มอุตสาหกรรม ธนาคารไทยที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ยันไม่กระทบเครดิตธนาคาร ช่วยหนุนแบงก์ชาติกำกับดูแลการดำเนินการได้ดีขึ้น

– หอการค้าไทย คาด ศบค.ผ่อนคลายธุรกิจ ดันมูลค่าใช้สอยทั่วประเทศเดือน ต.ค. พุ่งวันละ 1-1.2 หมื่นล้านบาท ทำ เศรษฐกิจปีนี้บวกได้ ด้าน ททท.ปรับแผนตลาด 7+7 เหลือ 4+3 เริ่ม 1 ต.ค.นี้ หลัง ศบค.ลดกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศเหลือ 7 วัน จากนั้นพื้นที่นำร่องใดพร้อม รับนักเที่ยวต่างประเทศตรงได้เลย

– โกลด์แมน แซคส์ ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2564 ลงสู่ระดับ 7.8% จากระดับ 8.2% โดยระบุว่า ปัญหาขาดแคลนพลังงานและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงอย่างมากนั้น ได้เพิ่งแรงกดดันให้เศรษฐกิจจีนมี ความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลง

– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มี อายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป พุ่งขึ้น 1.8% ในเดือนส.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.7% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค.

– ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ก.ย.) โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดกล่าวถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสในวันนี้

– สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเพียงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (27 ก.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์และการ พุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยกดดันตลาด

– นักลงทุนจับตานายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด และนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดกล่าวถ้อย แถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันนี้ โดยทั้งสองจะแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ และความสำคัญของ การใช้นโยบายการเงินและการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

– ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ราคาบ้านเดือนก.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์, ดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จาก Conference Board, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนส. ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2564 (ประมาณการครั้งสุด ท้าย), รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนส.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค., ดัชนีผู้จัดการ ฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (28 ก.ย. 64)

Tags: ,
Back to Top