แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจาย์แพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนและเรียกร้องให้มีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น mRNA vaccine, Protein subunit vaccine เป็นต้น ซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ให้กับบุคลาการทางการแพทย์และประชาชนทุกคน
“ขอเรียกร้องให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องเปิดเผยขั้นตอนการจัดหา และจัดสรรวัคซีนทั้งที่ผ่านมาและที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่า การดำเนินการทั้งหมดได้ทำอย่างสุจริต และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆโดยแท้จริง”แถลงการณ์ ระบุไว้
ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ ระบุอีกว่าสถานการ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของไทยในปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างมาก มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม และแม้ขณะนี้บุคลการทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว แต่ยังพบการระบาดในบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าวัคซีนชนิดเชื้อตายที่รัฐบาลได้จัดหามาให้เป็นวัคซีนหลักนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการยับยั้งการระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์เดลตา ทำให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลในการทำงาน และเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรที่เหลืออยู่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดูแลผู้ป่วย ถือเป็นการดำเนินนโยบายบริหารวัคซีนที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง
นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมาการสื่อสารการของรัฐบาลในการให้ข้อมูล จัดหาและจัดสรรวัคซีน เป็นไปด้วยความสับสน ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายจากประชาชัน ทั้งในแง่ความถูกต้องทางวิชาการและความโปร่งใสของรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้อง ซ้ำเดิมการดำเนินการจัดหาวัคซีนยังเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่เป็นไปตามแผนที่ได้ให้คำสัญญาเอาไว้กับประชาชน ทำให้ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอให้กับประชาชนทุกคน
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (21 ก.ค. 64)
Tags: COVID-19, Protein subunit vaccine, Sinovac, ซิโนแวก, มหาวิทยาลัยมหิดล, วัคซีน mRNA, วัคซีนต้านโควิด-19, สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์, โควิด-19, โรงพยาบาลรามาธิบดี