โบรกฯ เชียร์หุ้นกลุ่ม รพ.Valuation ไม่ถูกแต่เล่นได้หลังผู้ติดเชื้อทะลุหมื่นรายต่อวัน

เวลานี้ไม่มีใครไม่รู้จักเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เรียกอีกชื่อว่า โควิด-19 นับจากที่จีนประกาศพบผู้ติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหู เป่ย ในช่วงเดือน ธ.ค.62 ถึงวันนี้ เชื้อโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ขณะนี้ มียอดผู้ติดเชื้อสะสมเกือบ 200 ล้านราย จุดเริ่มต้น ในประเทศไทยเมื่อ 12 ม.ค.63 พบผู้ป่วยหญิงเป็นนักท่องเที่ยวมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก

นับจากนั้นมาจนถึงทุกวันนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์เดลตา อัลฟา เบตา แลมป์ดา เป็นต้น ผู้คนต่างติด เชื้อกันมากขึ้น หลายธุรกิจต่างประสบปัญหาจนบางรายถึงขั้นต้องปิดกิจการไป มีเพียงธุรกิจโรงพยาบาลที่ได้รับอานิสงส์เป็นอย่างมาก ใน สภาวะปกติแต่ละโรงพยาบาลไม่เคยใช้ capacity เต็มที่ แต่ตอนนี้นอกจากจะใช้ capacity ของแต่ละโรงพยาบาลเต็มแล้ว ผู้ป่วยโควิด ยังล้นออกนอกโรงพยาบาลด้วย นี่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า กลุ่มโรงพยาบาลย่อมที่จะมีผลดำเนินงานที่ดีมาก เพราะไม่ว่าจะรักษาผู้ป่วยด้วย โรคปกติแล้ว ยังมีรายได้จากการตรวจหาเชื้อโควิด การรักษาผู้ป่วยโควิดด้วย

นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดว่า กลุ่มโรงพยาบาลยังคงมีผล ดำเนินงานที่ดีในไตรมาส 3/64 และอาจจะทำผลงานได้ดีกว่าไตรมาส 2/64 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่งขึ้นทำนิวไฮทะลุกว่าหมื่น รายต่อวัน ทำให้ผลงานอาจเป็นจุดพีคได้

แม้ว่า Valuation ของหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลจะไม่ถูก แต่ด้วยโมเมนตัมบวกที่เข้ามา ทำให้หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลยังเล่นต่อ ไปได้อีก อย่างน้อยก็อีกไตรมาส เพราะถ้าวัคซีนทางเลือกเข้ามาเมื่อไร สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 คลี่คลาย ก็เป็นเวลาที่จะ ขายหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลออกไป

ดังนั้น จึงมองว่ากำไรของกลุ่มโรงพยาบาลน่าจะเริ่มย่อลงในช่วงไตรมาส 4/63 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่แย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่นี้ และเชื่อว่ากำไรในไตรมาส 4/64 คงไม่ได้ดีไปกว่าไตรมาส 3/64 ส่วนการให้ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจโค วิด Rapid Test ได้นั้น มองว่าไม่มีผลต่อกลุ่มโรงพยาบาล เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องไปตรวจหาเชื้อที่ได้ผลชัดเจนกับโรงพยาบาลอยู่ดี

ส่วนบทวิเคราะห์ฯ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า กลุ่มการแพทย์ คาดกำไรไตรมาส 2/64 จะออกมาโดดเด่นอย่างมาก เติบ โตทั้ง Q-Q และ Y-Y อย่างแข็งแกร่งจากอานิสงส์ของการตรวจเชื้อและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นจากการระบาดระลอก 3 ที่รุนแรง โดยชอบ บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล (BCH), บมจ.โรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG), บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) และบมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS)

โดยแนะ”ซื้อ” BCH ผู้บริหารช้อมูลเชิงบวกอย่างมาก โดยคาดกำไรไตรมาส 3/64 ยังพุ่งขึ้นต่อจากไตรมาส 2/64 โดยล่า สุดวันที่ 1-15 ก.ค.ที่ผ่านมามีการตรวจเชื้อโควิด-19 แล้ว 1.32 แสนเคส (ไตรมาส 2/64 ตรวจ 5.88 แสนเคส) ขณะที่การรักษา ปัจจุบันมีการเพิ่ม Hostpital และ Hospitel เป็น 8,500 เตียง (ไตรมาส 2/64 อยู่ที่ 2,500 เตียง) ทำให้ประมาณการกำไรปี 25641 มี Upside อย่างมาก และมีโอกาสปรับราคาเป้าหมายปัจจุบันที่ 28 บาทขึ้น

ส่วน บมจ.โรงพยาบาลพระรามเก้า (PR9) คาดกำไรไตรมาส 2/64 ไม่สดใส -59% Q-Q, +38% Y-Y เนื่องจากมีการ หยุดบริการเปลี่ยนไตในเดือน เม.ย.จากความกังวลโควิด-19 ที่กลับมาระบาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรไตรมาส 3/64 จะฟื้นตัวดีและ รายได้การรักษาโควิด-19 จะชดเชยบริการอื่น ๆ ได้ พร้อมปรับลดกำไรปี 64 ลงเป็น -2% Y-Y แต่ปรับเพิ่มปี 65 ขึ้นเป็น +82% Y-Y ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 14 บาท ยังแนะ”ซื้อ”

ด้านนายวิจิตร อายะพิศิษฐ นักกลยุทธ์การลงทุน บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า กลุ่มโรงพยาบาลยังเล่นได้ จากโมเมนตัมกำไรในไตรมาส 2-3/64 จะออกมาดี โดยเฉพาะ BCH และ CHG คาดว่ากำไรไตรมาส 2-3 ปีนี้มีโอกาสที่จะทำ All time high โดยเฉพาะ BCH มีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยการรับตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในช่วงไตรมาส 2/64 ทำได้ถึง 580,000 เคส เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบจากไตรมาส 1/64 ที่รับตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ 120,000 เคส และนับตั้งแต่วันที่ 1-5 ก.ค.นี้ก็ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว 130,000 เคส ซึ่งมากกว่าไตรมาส 1/64 อีก ดังนั้นรายได้จากโควิด-19 จึงแข็งแกร่งมาก ซึ่งทาง BCH ก็ใช้เตียงเต็ม Capacity และยังไปร่วมมือกับโรงแรมอีก ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

สำหรับชุดตรวจโควิด Rapid Test ยิ่งมีการตรวจหาเชื้อมากเท่าไรก็ยิ่งเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่า Antigen Test Kit ไม่ได้กดดันการแพร่ระบาดโควิด แต่จะเป็นตัวเสริมด้วยซ้ำไป เพราะอย่างไรก็จะต้องกลับมาตรวจที่โรงพยาบาลอยู่ ดี พร้อมกันนี้เชื่อว่าตลาดน่าจะมีการปรับเพิ่มประมาณการของ BCH ขึ้น ซึ่งขณะนี้หลายสำนักวิจัยก็ได้ปรับเพิ่มราคาเป้าหมายของ BCH ขึ้น เป็น 30 บาทแล้ว

ทั้งนี้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ไม่ค่อยรับผลดีจากสถานการณ์โควิด-19 เท่าไร เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่หายไป เนื่องจากโรง พยาบาลขนาดใหญ่ผู้ป่วยต่างชาติหายไป และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เป็นอยู่ขณะนี้ ทำให้คนไม่กล้าไปโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ป่วย OPD ก็จะหดหายไปบ้างด้วย แต่หากจะลงทุนระยะ 6 เดือนสำหรับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก็พอทำได้ เพราะราคาหุ้นของโรง พยาบาลขนาดใหญ่ถูกอยู่แต่ไม่ได้เด่นในแง่ของผลกำไร เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลขนาดกลางที่กำไรจะดีกว่า อย่าง BCH และ CHG ที่กำไร ทำ All time high ในไตรมาส 2-3 ปีนี้

*ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจากข้อมูล ASPEN

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ก.ค. 64)

Tags: , , , , , , ,
Back to Top