ศาสตราจารย์ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าโครงการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การกระจายอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง super spread มีบทเรียนมาแล้วจากการในระบาดระลอกแรกในประเทศไทยที่เกิดจากสถานบันเทิง
ทั้งนี้ สถานบันเทิงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้อย่างดี มีตัวอย่างมากมายจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศทางตะวันตก เนื่องจากสถานบันเทิงเป็นสถานที่ปิด และมีเสียงดัง มีการพูดคุยกันเสียงดังและใกล้ชิด และเมื่อมีการดื่มเหล้า แน่นอนทั้งการกำหนดระยะห่าง การใส่หน้ากากอนามัย การดูแลตนเองก็จะลดลงทันที จึงเป็นแหล่งระบาดของโรคต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก
“บทเรียนการระบาดในระลอกแรกของประเทศไทยที่เกิดจากสถานบันเทิง และสนามมวย ทำให้เราต้องใช้เวลานานถึง 2 เดือนในการยุติปัญหาดังกล่าวในเกือบทุกประเทศที่มีการระบาดเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจะเกิดจากสถานบันเทิงการระบาดจากพม่าที่ท่าขี้เหล็ก ก็เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ในขณะนี้”
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (3 ธ.ค. 63)
Tags: COVID-19, super spread, คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ, ยง ภู่วรวรรณ, สถานบันเทิง, แพร่ระบาด, โควิด-19