ธนาคารโลกเปิดเผยในวันนี้ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจทำให้ประชากรโลกจำนวน 150 ล้านคนตกอยู่ในภาวะยากจนอย่างรุนแรงภายในสิ้นปี 2564 ซึ่งจะทำให้ความคืบหน้าเป็นเวลากว่า 3 ปีในการลดความยากจนต้องสูญเปล่าไป
ธนาคารโลกระบุว่า ประชากรโลกอีกราว 88-115 ล้านคนจะเผชิญภาวะยากจนอย่างรุนแรงในปีนี้ ซึ่งจะดำรงชีวิตด้วยรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน และจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 ล้านคนภายในสิ้นปีหน้า
สิ่งนี้หมายความว่า ประขากรโลกจำนวน 9.1-9.4% คนจะเผชิญภาวะยากจนอย่างรุนแรงในปีนี้ เช่นเดียวกับในปี 2560 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.2% และบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีของอัตราประขากรโลกที่เผชิญภาวะยากจนอย่างรุนแรง
อัตราประขากรโลกที่เผชิญภาวะยากจนอย่างรุนแรงในปีที่แล้วอยู่ที่ 8.4% และมีการคาดการณ์กันว่าจะลดลงสู่ระดับ 7.5% ในปีหน้า ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
หากรัฐบาลต่างๆไม่มีการดำเนินการด้านนโยบายที่เอาจริงเอาจัง สิ่งนี้ก็จะทำให้การบรรลุเป้าหมายการลดอัตราประขากรโลกที่เผชิญภาวะยากจนอย่างรุนแรงลงสู่ระดับ 3% เป็นเรื่องที่ห่างไกลออกไป
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (8 ต.ค. 63)
Tags: ธนาคารโลก, ประชากรโลก, ยากจน, เวิลด์แบงก์, เศรษฐกิจโลก